ผู้มาจากแผ่นดินที่สาบสูญ (1)

โดย : จิตติมา ผลเสวก

ข่าว พ.ร.บ.สัญชาติฉบับที่ 5 ผ่าน  วุฒิสภา ทำให้ฉันนึกถึงกลุ่มคนพลัดถิ่นหลายพื้นที่ ที่เคยได้พบได้สัมผัสชีวิตที่อยู่อย่างรอคอยของพวกเขา  

ในยุคล่า อาณานิคม ประมาณปี พ.ศ.2411 อังกฤษ เจ้าอาณานิคมของประเทศพม่าได้จัดแจงขีดเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่า โดยผนวกเอาเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ซึ่งเคยอยู่ในการปกครองของไทยเข้าไว้ด้วย   เพื่อแลกกับเอกราชของสยามประเทศ

นับแต่นั้น ผู้คนที่ติดแผ่นดินอยู่อีก  ฟากฝั่งของแผนที่ ก็กลายเป็นคนพลัดถิ่น   เหมือนกับว่าหลับฝันพลันตื่นขึ้นมา พวกเขาก็พบว่าตนเองกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ไร้สัญชาติ และเป็นได้แค่พลเมืองชั้นสอง  ของประเทศพม่าเท่านั้น ครั้นหนีข้ามแดน  มาอยู่ฝั่งไทยที่ถือเป็นแผ่นดินเกิดก็กลับ    ไม่ได้สัญชาติไทยคืน ส่งผลให้ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานจากรัฐ

กลุ่มคนที่ถูกขนาน นามว่าคนพลัดถิ่นที่ติดแผ่นดินอยู่ในเขตประเทศพม่า มีอยู่     2 กลุ่มใหญ่ คือ ‘คนไทยพลัดถิ่น’ ซึ่งชาวพม่าเรียกว่า ‘ฉ่า’ ต่างจากคนไทยทั่วไปที่พม่าเรียกว่าโยเดีย และ ‘คนไทยมุสลิมพลัดถิ่น’ คนพม่าเรียกว่า ‘ฉ่าปะชู’

 จากคำบอกเล่าของคน ไทยมุสลิมวัยเกิน 50 ปีหลายต่อหลายคน พอประมวลได้ว่าพวกเขาอพยพมาจากหลายหมู่บ้านในเขตจังหวัดมะริด ทะวาย และตะนาวศรี ตั้งถิ่นฐานอยู่ฝั่งไทยประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว     รุ่นลูกหลานของคนวัยนี้ล้วนถือกำเนิดบน  ผืนแผ่นดินไทย กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะพำนักอยู่แถบ อำเภอสามร้อยยอด อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แต่ส่วนใหญ่คนมุสลิม พลัดถิ่นจะมา    จากทางตะวันตกของจังหวัดเกาะสอง หรือ ‘วิคตอเรีย พอยท์’  แล้วเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดระนอง กลุ่มนี้จะเป็นเครือญาติกับ  คนไทยมุสลิมที่อยู่ในเมืองไทยมาแต่ดั้งเดิม

Muslim diaspora 3 ตามคำบอกเล่าของชาว บ้านหลายคน   ได้ข้อมูลว่าสมัยก่อนนั้นมีการเคลื่อนที่โยกย้ายไปมาเพื่อหาที่อยู่ที่เหมาะ สม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟไปพม่า รัฐบาลไทยได้เกณฑ์คนไปตัดไม้เหลี่ยมหรือไม้หมอนรถไฟเป็นที่เอิกเกริก ชาวบ้านที่ไม่ต้องการใช้แรงงานเพื่อการนี้ได้หนี ไปปักหลักอยู่ฝั่งเกาะสองจำนวนมาก อยู่ไปอยู่มามีลูกมีหลานมาพบรักแต่งงานกับคนฝั่งไทย ก็โยกย้ายข้ามมาอยู่ฝั่งไทยอีก เป็นเรื่องปกติธรรมดา

 สำหรับกลุ่มคนไทย มุสลิมพลัดถิ่นที่ตั้งใจทิ้งถิ่นฐานบ้านเดิมและที่ทำกินในฝั่งประเทศพม่ามา อยู่ฝั่งแดนไทย พวกเขามีเหตุผลไม่ต่างจากคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มอื่นๆ   นั่นคือหลังจากมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ตกอยู่ในการปกครองของประเทศพม่า พลเมือง      ติดแผ่นดินก็อยู่กันอย่างลำบากยากเข็ญตามสถานะของพลเมืองชั้นสอง และสิ่งสำคัญ    คือหมดความภาคภูมิใจว่า นั่นคือแผ่นดินมาตุภูมิ

พวกเขาต้องเดินเท้า ข้ามป่าเขาและลงเรือข้ามฝั่งมาอย่างยากลำบากหลายวันหลายคืน ข้ามแดนมาเป็นคนไร้สัญชาติ     ไร้บ้านและที่ทำกินอยู่ในเขตแดนไทย

เมื่อไม่มีเลข 13 หลักบนบัตรประชาชน ที่แสดงสถานะความเป็นพลเมืองไทย ก็ไม่มีสิทธิรับบริการพื้นฐานจากรัฐ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา ทั้งไม่มีอิสระที่จะเดินทางออกนอกพื้นที่ หนำซ้ำมักจะถูกกลั่นแกล้งเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง   รู้ว่ากลุ่มคนพลัดถิ่นเหล่านี้ไม่กล้าที่จะมี   ปากเสียงกับเจ้าหน้าที่

 ฉันยังจำใบหน้าภาย ใต้ฮิญาบของผู้หญิงมุสลิม อำเภอสามร้อยยอด  ที่เอ่ยปากบอกเล่าถึงความยากลำบากในการดำรงชีวิต   แต่ดวงตายังฉายแววมุ่งมั่นและรอคอยด้วยความหวัง โดยเฉพาะความหวังว่าคนรุ่นลูกหลานที่กำลังเติบโตตามหลังจะได้ถือบัตรประชาชน ไทยที่มีเลข 13 หลักอย่างภาคภูมิใจ

ป่านนี้พวกเขาจะรับ รู้หรือยังว่าวุฒิสภาได้ผ่านพ.ร.บ.สัญชาติฉบับที่ 5 แล้ว เหลือเพียงรายละเอียดในการดำเนินการไปตามขั้นตอนเท่านั้น

แล้ววันที่รอคอยคงจะสิ้นสุดลงเสียที