สิ่งที่ “ขาดหายไป” ในการเรียนการสอน “ศาสนาอิสลาม”

มุมมองของ “คิชวาร์ ริซวี” รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเยล ต่อสิ่งที่ขาดหายในการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลามในระบบการเรียนการสอนของสหรัฐอเมริกา

ที่ผ่านมามีการให้ข้อมูลผิดๆ มากมายเกี่ยวกับ “อิสลาม” รายงานต่างๆ ในสื่อตะวันตกเอนเอียงไปทางการวาดภาพอิสลามให้เป็นศาสนาแห่งความรุนแรงและสตรีมุสลิมนั้นถูกกดขี่ ภาพยนตร์ยอดนิยมเช่น “อเมริกันสไนเปอร์” ได้เปลี่ยนสถานที่ต่างๆ เช่นอิรักให้เป็นเขตที่ปกคุลมไปด้วยฝุ่นแห่งสงครามและไร้วัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ใดๆ พวกเขาสำแดงความหวาดกลัวและความวิตกกังวลด้วยพฤติกรรม “อิสลามโมโฟเบีย” เช่นการเผามัสยิด หรือแม้กระทั่งการทำร้ายผู้คน

ซึ่งหัวใจของความหวาดกลัวดังกล่าว ก็คือความ “ไม่รู้” !!

ในเดือนธันวาคม ปี 2015 ผลการสำรวจ (โพล) พบว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52) ไม่เข้าใจศาสนาอิสลาม ในการสำรวจเดียวกันนี้พบว่า ร้อยละ 36 กล่าวเช่นกันว่า พวกเขาต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศาสนานี้ ที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี  ซึ่งเท่ากับร้อยละ 46 มีแนวโน้มที่จะมีมุมมองที่ดีเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

สถิติเหล่านี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักการศึกษา ในฐานะนักวิชาการด้านศิลปะอิสลามและสถาปัตยกรรม ดิฉันตระหนักถึงเรื่องนี้นับแต่ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักการศึกษาก็ได้พยายามที่จะปรับปรุงการเรียนการสอนเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ทั้งในโรงเรียนมัธยมและหลักสูตรประวัติศาสตร์ของวิทยาลัย

แต่ปัญหาก็คือว่า การสอนเกี่ยวกับศาสนาอิสลามนั้นถูกจำกัดอยู่แค่ภาคศาสนกิจทางศาสนา อันส่งผลกระทบต่อด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเรื่องนี้ไม่ค่อยถูกกล่าวถึง

สิ่งที่การเรียนการสอนเกี่ยวกับอิสลามขาดหายไป

ในหนังสือประวัติศาสตร์โรงเรียนมัธยมมีการกล่าวถึงเล็กๆ น้อยๆ ถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกันของยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ตรงนี้มีการกล่าวถึงแม้จะเล็กน้อย เกี่ยวกับความงดงามของศิลปะ วรรณกรรม และสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานี้

ในตำราประวัติศาสตร์โลกของโรงเรียนมัธยมของรัฐนิวยอร์ก ตัวอย่างเช่นเรื่อง “โลกมุสลิม” ที่ปราฏในบทที่ 10 ซึ่งเป็นการสรุปประวัติศาสตร์พันปี (จากศตววษที่ 7 ถึงศตววษที่ 17) เนื้อหามุ่งเน้นเฉพาะเรื่อง “กองทัพอาหรับ” และการขึ้นมาของจักรวรรดิมุสลิมสมัยใหม่ในยุคต้น

โบสถ์ชาเปลพาเลไทน์ (Palatine Chapel) ในซิซิลีที่หยิบยืมศิลปะของอาณาจักรฟาติมียะห์ (Al-dabra, CC BY-NC-ND)

จุดโฟกัสที่คับแคบเช่นนี้ทำให้ตกหล่นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในช่วงเวลานี้ ตัวอย่างเช่น ในสเปนยุคกลาง กลุ่มกวี “ทรูบาดูร์” (Troubadour) ได้หยิบยืมบทกวีที่งดงามของพวกเขามาจากภาษาอาหรับ อาหรับเคยเป็นภาษาแห่งราชสำนักของสเปนตอนใต้จนกระทั่งศตวรรษที่ 15 ทำนองเดียวกันนี้ในศตวรรษที่ 12 โบสถ์ชาเปลพาเลไทน์ (Palatine Chapel) ในซิซิลีถูกวาดและลงรักปิดทองในรูปแบบของจักวรรดิฟาติมียะห์ ที่ปกครองอียิปต์ในช่วงศตวรรษที่ 10 และ 12

การแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นเรื่องสามัญ ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายของผู้คน และเช่นเดียวกันกับความคิด

ประเด็นก็คือว่า เรื่องของอิสลามนั้นไม่สามารถกล่าวถึงได้โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม : และกระทั่งรวมทั้งผู้ปกครองมุสลิมยุคต้น ไมว่าจะเป็น จักวรรดิไบเซนไทน์ จักวรรดิโรมัน จักรวรรดิแซสซานิด (จักรวรรดิเปอร์เชียก่อนอิสลาม) ซึ่งการทับซ้อนดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดหลายศตวรรษที่ทำให้เกิดสังคมนอกรีตและสากล

นิยาม “ตะวันออกกลาง” (เริ่มในศตวรรษที่ 19) ล้มเหลวในการอธิบายความซับซ้อนทางสังคมและการร้อยเรียงทางวัฒนธรรมหรือศาสนาที่ดำรงอยู่ในภูมิภาคส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับศาสนาอิสลาม – และยังคงต่อเนื่องในทุกวันนี้

ศิลปะสามารถอธิบายการเชื่อมต่อที่สำคัญอย่างไร

ดังนั้น อะไรคือสิ่งที่นักการศึกษาควรทำเพื่อปรับปรุงองค์ความรู้นี้?

จากมุมมองของฉัน ภาพสมบูรณ์อาจจะถูกวาดขึ้นมาได้หากอัตลักษณ์ไม่ได้ถูกนิยามผ่านศาสนาเพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ การที่นักการศึกษาต้องมุ่งเน้นไปที่การข้ามวัฒนธรรม (cross-cultural) อันเป็นการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนผ่านบทกวีและศิลปิน นักดนตรีและสถาปนิก ทั้งในโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยศิลปะ – ภาพ ดนตรี และวรรณกรรม – อันสามารถแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างศาสนาอิสลามและประวัติศาสตร์โลกอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น ในชั้นเรียนเกี่ยวกับยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) อาจอธิบายว่า ศตวรรษที่ 15 จิตกรอิตาเลี่ยน “เจนตีเล เบลลีนี” (Gentile Bellini) มีชื่อเสียงถูกยอมรับในราชสำนักของสุลต่านเมห์เมด ที่ 2 (Mehmet II) ซึ่งเป็นผู้พิชิตนครอิสตันบูล โดยสุลต่านเมห์เมด ที่ 2 ได้มอบหมายให้เบลลีนีออกแบบภาพจิตกรรมของจักรพรรดิที่ถูกส่งไปยังผู้ปกครองทั่วยุโรป งานศิลปะของเขาได้แสดงให้เห็นตัวอย่างที่น่ามหัศจรรย์ของการแลกเปลี่ยนศิลปะที่เกิดขึ้นระหว่างเมืองต่างๆ ในยุคต้นสมัยใหม่ (early modern) เช่น นิวเดลี, อิสตันบูล, เวนิซ และอัมสเตอร์ดัม

นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้นักเรียนได้รู้ว่า จิตรกรชาวดัตช์ “แรมแบรนดท์” (Rembrandt) ได้เก็บรวบรวมภาพเขียนขนาดเล็กของโมกุล (Mughal) ผ้าไหมจากอาณาจักรซาฟาวิด (ราชวงศ์อิหร่านตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 18) เป็นที่นิยม กระทั่งกษัตริย์โปแลนด์ก็มีเสื้อคลุมที่ทอจากเมืองอิสฟาฮาน

การแลกเปลี่ยนของศิลปะนี้ยังคงต่อเนื่องจนเข้าสู่ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment) อันเป็นช่วงเวลาที่ความคิดวนเวียนเกี่ยวกับการเมือง ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และการสื่อสาร ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในยุโรปอย่างรวดเร็ว ในชั้นเรียนเกี่ยวกับยุคเรืองปัญญา อาจจะเน้นความจริงที่ว่านักเขียนเช่น มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) ได้หันไปทางตะวันออกกลางโดยสร้างบทวิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันศาสนาของพวกเขาเอง

“โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่” พบแรงบันดาลใจจากบทกวีเปอร์เซีย (kaythaney, CC BY-NC)

ในชั้นเรียนบทกวีก็ทำนองเดียวกัน สามารถแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างนักประพันธ์เยอรมัน “โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่” (Wolfgang von Goethe) ในงานเขียนของเขากับอิสลาม ตัวอย่างเช่นในผลงานของเขา “West-Eastern Diwaan” ซึ่งเป็นคอลเลกชันบทกวี บทสรุปของวรรณกรรมระดับโลกนี้ถ่ายแบบจากบทกวีเปอร์เซียคลาสสิกออกมาในสไตล์ของตนและได้รับแรงบันดาลใจ “ชาวซูฟี” (Sufism) กลุ่มที่ยึดแนวทางฌานนิยมหรือรหัสยนิยมในศาสนาอิสลาม

นักเรียนส่วนใหญ่จะถูกเปิดให้เห็นความสัมพันธ์เหล่านี้ ถึงแม้ว่ามันอาจจะต้องเอาชนะอคติของตนเองที่มีเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเช่นเมื่อฉันสอนในชั้นเรียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมยุคกลาง นักเรียนพากันประหลาดใจที่ได้รู้ว่า มหาวิทยาลัย 2 แห่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องนั้นอยู่ในแอฟริกาเหนือ (ในเฟซ – เมืองในโมร็อกโก – และไคโร)

อันที่จริง มันไม่ได้เป็นเรื่องง่ายที่จะคลี่คลายการเมืองร่วมสมัยจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์โดยการสอนให้เต็มที่มากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความหลากหลายของศาสนาที่มีความเก่าแก่เกือบ 2,000 ปี

บางทีนักการศึกษาสามารถเรียนรู้จากนิทรรศการล่าสุดที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (Metropolitan Museum of Art) ในนิวยอร์ก หัวข้อ “เยรูซาเล็ม 1000-1400 : ทุกคนอยู่ใต้สวรรค์” (Jerusalem 1000-1400 : Every People Under Heaven) อันอธิบายให้เห็นว่าศาสนาของอับบราฮัม (อิบรอฮีม) – นั่นคือคริสต์ ยูดาย และอิสลาม – หยิบยืมอย่างอิสระจากอีกฝ่ายในอาณาจักรของศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรมได้อย่างไร เยรูซาเล็มเป็นมาตุภูมิของประชากรหลากหลาย และศิลปะมีบทบาทสำคัญในทางศาสนาและวิถีทางการเมือง

ชาวมุสลิมในอเมริกา

มันไม่ใช่เพียงแค่ในอดีตอย่างเดียว เราเห็นความสัมพันธ์นี้ยังคงต่อเนื่องมาจนวันนี้ ที่นี่ในอเมริกา ที่ซึ่งศาสนาอิสลามเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่แท้จริง และเป็นมานานหลายศตวรรษ

จากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปีไปยันเส้นขอบฟ้าแห่งชิคาโก มุสลิมได้สร้างคุณูปการ ซึ่งอาจจะไม่แจ่มแจ้งเท่าใดนัก : ทาสแอฟริกาตะวันตกในภาคใต้คือศูนย์กลางการพัฒนาของดนตรีบลูส์ การเปล่งเสียงที่ซับซ้อนและจังหวะที่รวมเข้าด้วยกันในพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม จำนวนมากจากรูปแบบเหล่านี้คือสิ่งที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

เช่นเดียวกันนั้นคืองานสถาปัตยกรรม ตัวอย่างที่ชัดเจนของสถาปัตยกรรมอเมริกันสมัยใหม่ก็คือ อาคารเซียร์ (Sears Tower)ในชิคาโก ซึ่งถูกออกแบบโดยวิศวกรโครงสร้างบังคลาเทศอเมริกัน ที่ชื่อ “ฟัซลุลเราะห์มาน ข่าน”

การมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมกับศิลปะและสถาปัตยกรรม ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงความหลากหลายของอเมริกา แต่ยังสะท้อนถึงความหลากหลายของศาสนาอิสลามในประเทศนี้ ชาวมุสลิมในอเมริกาประกอบด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม ความรู้เหล่านี้มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับหนุ่มสาวมุสลิมอเมริกัน ผู้ที่ต้องต่อสู้หาที่ยืนของตนในประเทศที่บางครั้งทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นคนนอก

นักการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาศิลปะและมนุษยศาสตร์, มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเหล่านี้ที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเอกภาพในความหลากหลายนั้น

ท้ายสุด เสมือนที่นักกวีซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในอเมริกา นักรหัสยวิทยามุสลิมแห่งศตวรรษที่ 13 “รูมี” ได้เขียนไว้ว่า :

“ทุกศาสนา ทุกการขับร้องนี้ คือเพลงเดียว ความแตกต่างเป็นเพียงภาพลวงตาและความยโส” (All religions, all this singing, one song. The differences are just illusion and vanity)

 


เขียนโดย “คิชวาร์ ริซวี” รองศาสตราจารย์ ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปะอิสลาม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล

แปล/เรียบเรียง กองบก.เดอะพับลิกโพสต์

By : Kishwar Rizvi (Associate Professor in the History of Art Islamic Art and Architecture, Yale University)

Source : https://theconversation.com