ประวัติศาสนาอิสลามโดยย่อ (ตอนที่ 3) : พิชิตนครมักกะห์

รัฐธรรมนูญแห่งมาดีนะห์ – ภายใต้กลุ่มชนที่ยอมรับมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตแห่งพระเจ้า ได้มีการก่อตั้งระบอบการปกครองขึ้นมาในช่วงสมัยนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจิตสำนึกทางการเมืองของชุมชนมุสลิมได้ถึงจุดสำคัญ : สมาชิกของชุมชนได้กำหนดตนเองให้เป็นสังคมที่แยกออกมาจากสังคมอื่นๆ ทั้งหมด  รวมทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดบทบาทของผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในชุมชน ตัวอย่างเช่นชาวยิวที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พวกเขาคือ “dhimmis” (ซิมมี)  หมายความว่ามีสถานะเป็นบุคคลผู้ได้รับการคุ้มครองจากรัฐมุสลิม ตราบเท่าที่พวกเขาปฏิบัติสอดคล้องตามกฎหมาย โครงสร้างนี้เป็นหนึ่งในแบบฉบับสำหรับการปฏิบัติต่อประชาชนในการพิชิตครั้งอื่นๆ ในเวลาต่อมา

ชาวคริสเตียนและชาวยิว เมื่อได้จ่ายภาษีพอเป็นพิธี ก็จะได้รับเสรีภาพทางศาสนา และในขณะเดียวกับที่ยังรักษาสถานะของพวกเขาไว้ในฐานะผู้ไม่ใช่มุสลิม เป็นสมาชิกภาคีของรัฐมุสลิม สถานะนี้ไม่ได้นำมาใช้กับกลุ่มมุชรีกีน (พหุเทวนิยม, ลัทธินอกศาสนา -polytheists) ที่ไม่สามารถยอมรับได้ให้อยู่ร่วมกับชุมชนที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว (เอกเทวนิยม – One God)

อิบนิ อิสฮัก นักประวัติศาสตร์คนแรกๆ ที่เขียนเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของศาสดากล่าวว่า ช่วงเวลานี้มูฮัมหมัดได้ส่งจดหมายถึงผู้ปกครองอาณาจักรต่างๆ – กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย, จักรพรรดิไบแซนไทน์, กษัตริย์แห่งอะบิซซีเนีย (เอธิโอเปีย) และเจ้าผู้ครองอียิปต์ รวมทั้งคนอื่นๆ – เชิญชวนให้พวกเขาเข้ารับศาสนาอิสลาม

ไม่มีอะไรที่อธิบายให้เห็นภาพความเชื่อมั่นของชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ได้ โดยเฉพาะในแง่ของอำนาจทางการทหาร แม้จะมีการรบในสงครามสนามเพลาะ (the battle of the Trench) แต่ก็ยังไม่นับเป็นการรบที่สำคัญนัก แต่ความมั่นใจนี้ของพวกเขาก็ไม่ได้ผิดที่ผิดทาง มูฮัมหมัดสร้างกลุ่มพันธมิตรจากชนเผ่าต่างๆ ขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี ค.ศ. 628 เขาและสาวก 1,500 คน ก็สามารถเรียกร้องขอสิทธิการเข้าไปแสวงบุญยังอาคารกะบะห์ (Kaaba) ได้ นี่เป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิม

เพียงแค่ไม่นานก่อนหน้านี้ มูฮัมหมัดต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อสร้างรัฐอิสลามในเมืองมาดินะห์ แต่ตอนนี้เขากำลังได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้นำผู้ทรงสิทธิโดยอดีตศัตรูของตน อีกหนึ่งปีถัดมาใน ค.ศ. 629 เขากลับเข้ามาใหม่และพิชิตนครเมกกะห์โดยไม่มีการนองเลือด เขาได้ทำลายรูปเคารพในอาคารกะบะห์ และยุติขนบประเพณีของลัทธิพหุเทวนิยมไปตลอดกาล

ในเวลาเดียวกันนั้น อัมร์ บินอาศ (ซึ่งต่อมาเป็นผู้พิชิตของอียิปต์) และ คอลิด อิบนิ วาลีด (ซึ่งต่อมาได้ฉายา ดาบแห่งพระเจ้า) ก็ได้ยอมรับอิสลามและสาบานว่าจะมีความจงรักภักดีต่อมูฮัมหมัด การเข้ารับอิสลามของพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคนเหล่านี้เป็นหนึ่งในกลุ่มต่อต้านที่สร้างความขมขื่นแก่มูฮัมมัดเมื่อไม่นานมานี้

ในอีกแง่หนึ่ง การกลับสู่นครมักกะห์ของมูฮัมหมัดนับเป็นจุดสูงสุดในภารกิจของเขา ในปี ค.ศ. 632 สามปีต่อมาเขาป่วยหนักและในวันที่ 8 มิถุนายนของปีนั้น ศาสนทูตแห่งพระเจ้าก็ได้เสียชีวิตในตอนเที่ยงวัน

การเสียชีวิตของมูฮัมหมัดนับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ สำหรับสาวกของเขา ชายผู้สมถะจากมักกะห์คนนี้เป็นยิ่งกว่าสหายสนิท เป็นยิ่งกว่าผู้ปกครองที่มีความหลักแหลม เป็นยิ่งกว่าผู้นำผู้ซึ่งได้สร้างรัฐใหม่ขึ้นมาจากกลุ่มชนเผ่าที่ต่อสู้กัน มูฮัมหมัดเป็นแบบอย่างของคำสอนที่เขานำมาจากพระเจ้า : คำสอนของอัลกุรอาน ซึ่งเป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่ได้นำทางความคิดและการกระทำ ความเชื่อและการปฏิบัติ สำหรับชายและหญิงนับไม่ถ้วน  อันนำมาซึ่งที่ยุคโดดเด่นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

กระนั้นก็ตาม การเสียชีวิตของเขามีผลเล็กน้อยต่อสังคมพลวัตที่เขาสร้างขึ้นในอาระเบีย และไม่มีผลใดๆ กับภารกิจหลักของเขา คือการส่งกระจายคำสอนของอัลกุรอานไปทั่วโลก

เสมือนที่ อาบูบักร์ (สหายสนิทและผู้ปกครองคนที่ 1 หลังจากศาสดา) ได้กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดบูชามูฮัมหมัด ก็จงให้เขารู้ไว้ว่า มูฮัมหมัดเสียชีวิตแล้ว แต่ผู้ใดเคารพบูชาพระเจ้า ก็ให้เขารู้ว่าพระเจ้ายังทรงอยู่และไม่ตาย”