รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไมก์ ปอมปีโอ ได้ปฏิเสธที่จะถอนนักการทูตออกจากเวเนเซูเอลา โดยอ้างว่ารัฐบาลที่ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐนั้นไม่ถูกกฎหมาย และขู่ ‘แทรกแซง’ หากมีใครตกอยู่ในอันตราย อาร์ทีรายงาน
“เราขอเรียกร้องให้กองทัพเวเนซุเอลาและกองกำลังความมั่นคงดำเนินการเพื่อปกป้องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวเวเนซุเอลา ตลอดจนสหรัฐอเมริกา และพลเมืองต่างชาติอื่นๆ ในเวเนซุเอลา” นายปอมปีโอกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเย็นวันพุธ (23 ม.ค.) และว่า สหรัฐฯ จะดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อจัดการใครก็ตามที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัย และความมั่นคงของภารกิจ และบุคลากรของเรา”
U.S. will conduct diplomatic relations with #Venezuela through the government of interim President Guaido. U.S. does not recognize the #Maduro regime. U.S. does not consider former president Maduro to have the legal authority to break diplomatic relations. https://t.co/DBS4GiGEWI pic.twitter.com/gQZJuS1xfn
— Secretary Pompeo (@SecPompeo) January 24, 2019
ประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโร ของเวเนซุเอลาประกาศขับนักการทูตสหรัฐฯ ทุกคนในวันพุธ หลังจากวอชิงตันได้ให้การรับรองผู้นำฝ่ายค้าน นายฮวน ไกวโด เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของประเทศนี้ อย่างไรก็ตามนายไกวโดกล่าวว่าเขาต้องการให้นักการทูตสหรัฐฯอยู่ต่อไปในประเทศนี้ เพื่อตั้งเวทีสำหรับเหตุการณ์ทางการทูตที่อาจเกิดขึ้น
เนื่องจากสหรัฐฯไม่ยอมรับ “ระบอบการปกครองของมาดูโร” ดังนั้นคำสั่งของเขาในการขับนักการทูตสหรัฐฯ ออกจากประเทศจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ปอมปีโอกล่าวและเพิ่มเติมว่า วอชิงตันจะคงความสัมพันธ์ทางการทูตกับคารากัสต่อไป
หลังจากรัฐบาลทรัมป์ยอมรับรัฐบาลของนายไกวโดแล้ว พันธมิตรสหรัฐในละตินอเมริกาจำนวนหนึ่งก็ให้การรับรองตามสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงประเทศในองค์การรัฐอเมริกัน (OAS) และแคนาดาส่วนใหญ่ ผู้นำสหภาพยุโรปก็ได่ให้การรับรองรัฐบาลกบฏเช่นกัน
คิวบาและโบลิเวียแสดงการสนับสนุนต่อมาดูโร ในขณะที่เม็กซิโกบอกว่า “ในตอนนี้” ยังคงถือว่ามาดูโร อยู่ในฐานะประธานาธิบดีของประเทศตามกฎหมายต่อไป
ด้าน มาเรีย ซาคาโรว่า โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตะวันตกอย่างชัดเจนที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ อำนาจอธิปไตย และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของรัฐอื่น