ความรุ่งเรืองและถดถอย ของ บริษัทบริติชอีสต์อินเดีย (British India Company) ตอนที่ 3 จบ

"อีสต์อินเดียเฮาส์" สำนักงานใหญ่บริษัทฯ / ภาพ วิกิพีเดีย

จากที่ผมได้ศึกษาอ่านบทความวิจัยของ George S. Roukis จากมหาวิทยาลัย Hofstra University, USA แม้ในเวลาปัจุบันที่ทั่วโลกได้เผชิญอยู่กับการเปลี่ยนแปลง  การเพิ่มขึ้นของความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ความก้าวหน้า และเจริญแบบขีดสุดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน หากเราจะศึกษาห้วงเวลาในอดีต อย่างกรณี East India Company ที่ดำเนินการโดยที่ยังไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ เพราะในเวลานั้นโลกกำลังอยู่ในยุคเกษตรกรรมศตรววษที่ 17,18 ยังไม่มีเครื่องจักรกลอะไร ทุกอย่างเดินทางด้วย ม้า เรือใบ  ในเวลาที่บริษัทเอกชนมักจะถูกบังคับให้รับหน้าที่ของรัฐ โดยการสื่อสารในเวลานั้นจะปราศจากความรวดเร็ว การที่บริษัทขนส่งต้องเผชิญกับความท้าทาย ที่ไม่คาดคิด ที่เกิดจากการเดินทะเล ศัตรู รวมถึงความขัดแย้งระหว่างมุสลิมและฮินดูในอดีตของอินเดียที่จะทำให้เสียประโยชน์ของธุรกิจการค้า ถึงอย่างไร East India company ถือเป็น บริษัทที่ประสบความสำเร็จระดับโลกที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกเอาไว้   ในเวลาที่งานวิจัยหลายเรื่องได้ศึกษาถึงวิธีคาดการณ์การทำงาน  East  India  company ที่ได้แสดงความสามารถที่โดดเด่น และถือว่าเป็นบริษัทที่มีการค้าที่ทรงพลังอันดับ 1 ของโลกในเวลานั้น บริษัทมีรูปแบบการทำงานที่มีความร่วมสมัยผสมผสานกับค่านิยมองค์กรที่ต่างกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกกับตะวันออก  เป็นบริษัทข้ามชาติที่แสวงหาผลประโยชน์ที่ชัดเจน ทั้งในด้านกำลังทหาร  ผู้บริหารราชพลเรือน ผุ้บุกเบิกจากโลกตะวันตก  เป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับองค์กรที่เป็นระบบกับหลายประเทศ ถือว่าเป็นต้นแบบแห่งการคิดค้้นถึงการวางรากฐานจากจักวรรดิอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกและดำเนินการธุรกิจการใช้นโยบาบแบบลีน (lean Operation) ที่เป็นกรณีศึกษารายแรกๆ ของโลก มีหลายอย่างเป็นบทเรียนที่สามารถนำมาใช้ ในบริบทร่วมสมัยในโลกปัจุบันได้ 

พลวัตของการจัดการการเปลี่ยนแปลง East India Company

ในสังคมโลกศตรววษที่ 17 เมื่อบริษัทที่ถูกบังคับให้รับหน้าที่ การติดต่อประสานงานต่างเวลาต่างสถานที่ การสื่อสารที่ใช้การเดินทางเป็นเวลานาน การต่อสู้การทำงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นตลอดเวลา  การสร้างความเข้าใจของคู่แข่งทางการค้า การศึกษานำร่องวิจัยอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับปฎิสัมพันธ์ทางด้านศาสนาวัฒนธรรม  และความอ่อนไหวของประชากรพื้นเมือง เพราะการใช้อิทธิพลของบริษัทแม่เข้าไปค้าขายกับพื้นที่ที่มีความต่างจะสร้างผลต่อการบริโภคสินค้าหรือบางครั้งต้องน้อมรับกับอิทธิพลท้องถิ่นนั้นๆ ปัญหาการโอนถ่ายจากบริษัทแม่ที่เรียกว่า  Transfer policy

การแสดงออกถึงค่านิยมของบริษัท East India Company ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างดี บริษัทต้องเจอกับความท้าทายที่ไม่คาดคิด การสนับสนุนปฎิบัติการทางทหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อบริษัทย่างก้าวเข้าไปประกาศศักดาในดินแดนตะวันออก ความพร้อมทั้งในเรื่องของกำลังพลระบบเสนาธิการ มาตการนโยบายของรัฐบาลอังกฤษมีความเข้มงวดต่างเวลาต่างวาระกันออกไป ยิ่งในช่วง ปี 1770-1780 มีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะการเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมา เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาการจากยุโรป ที่ส่งผลต่อโลกและการเปลี่ยนแปลงภายในของยุโรป สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการบริหารจัดการของบริษัทคือ การตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นเป็น สิ่งที่รัฐบาลอังกฤษมีการเตรียมการกับกองกำลังที่แข็งแกร่ง การศึกษานำร่องกับศัตรูคู่แข่งที่มีศักยภาพ และหากถึงเวลาเมื่อพวกเขาเหล่านั้นไม่แสดงความเป็นมิตร 

ทุกการดำเนินงานการรวบรวมข้อมูลการสร้างความคุ้นเคยกับการเข้าสู่ตลาดของโลกตะวันออก เพราะบริษัท East india company ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงจุดประสงค์ขั้นพื้นฐาน การขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเข้าถึงดินแดนใหม่และเข้าถึงวัตถุดิบรายใหม่ๆ  นอกจากนี้แล้ว การปรับปรุงพัฒนา ในปีต่อๆ ไป ทุกอย่างถูกหยิบยกขึ้นมากลายเป็นเครื่องมือจนไปถึงถึงการสร้างนโยบายของจักรวรรดิอังกฤษ  เพราะบางครั้งการดำเนินนโยบายก็ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด การปฎิสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับอังกฤษ โดยสิ่งที่ได้จากอังกฤษก็มีสิ่งดีๆมากมายแต่บางอย่างก็เป็นความเกลียดชังที่ฝังลึกซึ้งเกินและกินเวลาหลายชั่วอายุคน  กลยุทธ์การใช้กำลังทหารปราบให้เกิดความพอใจต่อจักรววดิอังกฤษความสำเร็จสุดท้ายก่อนที่นำไปสู่จุดจบของบริษัทอีกหลายร้อยปีต่อมา 

East India Company คงคาดการณ์ถึงเหตุการในอนาคต ทุกอย่างคือบทเรียนและเป็นวรรรกรรมที่โลกปัจจุบันให้การศึกษายอมรับถึงประวัติศาสตร์อังยิ่งใหญ่ในอดีต การวางแผนการกระจายอำนาจการดำเนินงาน ความร่วมมือเชิงกลยุธ์กับนานาประเทศเพราะการประสานในลักษณ์ต่างๆขององค์กรในฐานะที่การพยายามสร้างพันมิตรก่อนที่จะเป็นกำลังทหารอาจจะเป็นเรื่องที่สรุปได้ว่า East India company   มุ่งเน้นไปที่อนาคต เพราะโลกของศตรววษที่ 17-18 ทุกวันข้างหน้าในเวลานั้นคงจะต่างจากมุมมองของเราเวลานี้ ที่ไม่อาจจะรับรู้ได้เพียงแค่วรรรกรรมและร่องรอยที่เหลือไว้ให้ทำการศึกษา     East  India ไม่ได้ดำเนินการผ่านโครงการองค์กรตามลำดับชั้นที่เข้มงวด แต่ผ่านการทำงานที่มีการกระจายอำนาจจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมีความสามารถในการดำเนินงานเป็นอิสระ การผลักดันนโยบายการค้าในเวลานั้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต้องเจอกับปัญหาหลายอย่าง การจัดการกับอันตรายอย่างเด็ดขาดของ East India Company ในเวลานั้น อาชญากรขุนศึก กลุ่มการเมือง กลุ่มเคร่งครัดศาสนา สิ่งเหล่านี้ที่เขาได้พบเจอและเป็นเรื่องที่น่าศึกษากับวิธีการรับมือ

กระนั้นแล้วการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ East India Company หลายช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์นำมารวบรวมและนำเสนอในงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มากมายที่สามารถสืบค้นได้  การพานิชย์ที่ลือลั่นในอดีตและนโยบายเศรษฐกิจที่มีวาระซ้อนเร้นของมหาอำนาจอังกฤษ การสร้างปฎิสัมพันธ์ก่อนที่จะใช้กำลังทหาร รูปแบบการบริหารเชิงนโยบาย แม้ปัจจุบันการที่โลกก้าวเข้าสู่ศตรววษที่ 21ก็ตามบทเรียนต่างยังคงถูกอ้างอิงและมีการหยิบยกขึ้นมาใช้ในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย

ในเวลาปัจจุบันบริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่ ดำเนินงานในโลกไร้พรมแดนการแสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจที่สามารถดำเนินงานด้วยกฏระเบียบที่เคร่งครัดของกฏหมายระหว่างประเทศ  สำหรับมหาอำนาจอย่างสหรัฐในปัจจุบันที่ใช้กำลังทหารรักษาผลประโยชน์ของชาติแต่จะคนละบริบทกับEast India Company ถึงอย่างไรมีอีกหลายช่วงเวลาที่ยังคงหน้าศึกษาและค้นหาเรื่องราวของบริษัทบรรลือโลกแห่งนี้ 

อ้างอิง 

Stewart Clegg , (2017), The East India Company: The First Modern Multinational?, in Christoph DöRrenbächer , Mike Geppert (ed.) Multinational Corporations and Organization Theory: Post Millennium Perspectives (Research in the Sociology of Organizations, Volume 49) Emerald Publishing Limited, pp.43 – 67

George S. Roukis, (2004) “The British East India Company 1600-1858: A model of transition management for the modern global corporation”, Journal of Management Development, Vol. 23 Issue: 10, pp.938-948, https://doi.org/10.1108/02621710410566847

http://www.paulrittman.com/EastIndiaCompany.pdf