ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (8)

การปลดปล่อยชาวมลายูปาตานีให้พ้นจากความอธรรมของผู้ปกครองและปกป้องวิถีการ ดำเนินชีวิตคงไว้ซึ่งศาสนาและอัตตลักษณ์ของความเป็นมลายูปาตานีไม่มีทางอื่น ใดที่จะเรียกร้องจากผู้ปกครองรัฐไทยได้อีกแล้ว นอกจากจะต้องประกาศให้โลกรับรู้ด้วยการต่อสู้ด้วยอาวุธ จัดตั้งองค์กรนำและปลุกความรู้สึกให้ชาวบ้านมีความสำนึกในชาตินิยมมลายูปา ตานี อันเป็นที่มาของ ขบวนการ BNPP ( Barisan Nasional Pembebasan Patani ) นายอดุลย์ ณ สายบุรี ( ตนกูอับดุลยาลาล นาเซร์ ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เป็นผู้นำ BRN ( Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani ) นายอุสตัสการิม บินฮัสซัน เป็นผู้นำ และ  PULO ( Patani United liberation Organization ) ตนกูบีรอ กอตอนีลอ หรือ อดุลย์ ณ วังคราม เป็นผู้นำ

ในส่วนการเมืองด้านรัฐสภา ภายหลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง รัฐบาลได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 15 ตุลาคม 2488 เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 6 มกราคม 2489 โดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และถือเกณฑ์จำนวนประชากรสองแสนคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ซึ่งการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งนี้ ปรากฎว่าในจังหวัดสตูลเท่านั้นได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมลายูมุสลิม นอกนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไทยพุทธทั้งสิ้น ดังรายนามต่อไปนี้

จังหวัดสตูล ได้แก่ นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ
จังหวัดปัตตานี ได้แก่ นายเจริญ สืบแสง
จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ นายวงศ์ ไชยสุวรรณ
จังหวัดยะลา ได้แก่ นายประสาท ไชยโท

และต่อมา จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ได้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกจังหวัดละ 1 คน มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มในวันที่ 5 สิงหาคม 2489 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งในจังหวัดปัตตานีได้แก่ นายจรูญ สืบแสง และในจังหวัดนราธิวาสได้แก่ ร.ต.ท.สุริยน ไรวา ซึ่งทั้งสองคนนี้ก็เป็นไทยพุทธเช่นกัน แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ ยังมิได้แสดงบทบาทในฐานะตัวแทนของราษฎรที่กำลังประสบทุกข์และความเดือดร้อน จากการขาดแคลนเรื่องข้าวยากหมากแพงภายหลังสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลงใหม่ๆ เท่าที่ควร อยู่ในวาระของการดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ในนาม ” คณะทหารของชาติ ” ได้กระทำาการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ และได้แต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

เป็นที่น่าสังเกตว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ จังหวัดปัตานี นราธิวาส และ ยะลา แม้ประชาชนใน 3 จังหวัดนี้ เป็นชาวมลายูปาตานี ไม่น้อยกว่า 85% แต่ก็ยังเลือกบุคคลที่เป็นชาวไทยพุทธเป็นผู้แทน แม้จังหวัดป๊ตตานีมีการแข่งขันระหว่าง นายเจริญ สืบแสง กับ พระพิพิธภักดี ( กูมุคตาร์ อับดุลบุตร ) ซึ่งเป็นมุสลิมและเป็นทายาทเจ้าเมืองยะหริ่งเก่า ตวนกูรูหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ยังเป็นหัวคะแนนหาเสียงให้กับ นายเจริญ สืบแสง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะนายเจริญฯเป็นนักการเมืองสายดร.ปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ) ซึ่งเป็นบุคคลที่ตวนกูรูหะยีสุหลงฯมีความนิยมชมชอบในแนวทางแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายเจริญฯเองเป็นชาวไทยพุทธที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวมลายูปาตานีใน เรื่องการช่วยเหลือเป็นปากเสียงต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับชาวมลายูปา ตานีในขณะนั้น ในส่วนของจังหวัดนราธิวาส แม้นายวงศ์ ไชยสุวรรณ จะเป็นไทยพุทธแต่บุคคลผู้นี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำท้องถิ่น คลุกคลีอยู่ในวงการกีฬาวัวชน ซึ่งเป็นกีฬายอดนิยมของคนใต้ในสมัยนั้น เช่นเดียวกันกับนายประสาท ไชยโท ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรในจังหวัดยะลาก็เป็นผู้กว้างขวางมีความสนิท สนมกับผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี จึงเป็นข้อสรุปเป็นอย่างดีว่า ชาวมลายูปาตานีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนั้นเลือกคนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของตนในสภาโดย ไม่คำนึงเรื่องศาสนาและความเป็นชาตินิยมแต่อย่างใด หากเลือกเพราะความผูกพันใกล้ชิดหวังพึ่งพาในยามยากเสียมากกว่า เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลงใหม่ๆนั้นความเดือดร้อนของชาวบ้านโดยทั่วไป ในการดำเนินชีวิตมีทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง อีกทั้งข้าวสารไหลทะลักลักลอบออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นว่าเล่น ขณะที่ชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ต้องเข้าแถวรอคิวซื้อข้าวสารในโควต้าจำนวนจำกัด อีกทั้งเป็นช่วงที่การเมืองในประเทศกำลังเปลี่ยนขั้วจากขั้วอำนาจเก่าที่ เป็นเผดึจการโดยการนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นและพ่ายแพ้ไปสู่ขั้วใหม่โดยการนำของหลวงประดิษฐ์มนู ธรรม( ดร.ปรีดี พนมยงค์ )ผู้นำขบวนการเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่น อำนาจจากศูนย์กลางซีกประชาธิปไตยยังไม่ถึงประชาชน ข้าราชการยังเคยชินกับการกฎขี่ข่มเหงชาวมลายูปาตานีตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุด เก่า ชาวมลายูปาตานีจำต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลที่สามารถเข้าถึงและพูดคุยที่เข้าใจ กันเป็นอย่างดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ทรงอิทธิพลในพื้นที่ขณะนั้น

การเลือกตั้งในวันที่ 26 มกราคม 2491 เป็นการเลือกตั้งหลังจากที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ได้กระทำการรัฐประหารรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งผลการเลือกตั้งใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคคลที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีดังนี้

จังหวัดปัตตานี นายเจริญ สืบแสง
จังหวัดนราธิวาส นายสมรรถ เอี่ยมวิโรจน์
จังหวัดยะลา นายสาลี กูลณรงค์
จังหวัดสตูล นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ

การเลือกตั้งในครั้งนี้มีบุคคลที่นับถือศาสนาพุทธได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 2 คน ได้แก่ นายเจริญ สืบแสง จากจังหวัดปัตตานี และ นายสาลี กูลณรงค์ จากจังหวัดยะลา ส่วนที่จังหวัดนราธิวาส และ จังหวัดสตูล บุคคลที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงสถานการณ์การเมืองไทยที่มีผู้นำประเทศในคราบ ประชาธิปไตยแต่จิตใจเผด็จการที่มีบริวารและสมุนรับใช้ที่ชอบใช้ความรุนแรง กับนักการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเจ้านายของตนและนักต่อสู้เพื่อสิทธิ มนุษยชนที่เรียกร้องความเป็นธรรมตามสิทธิความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

นายสมรรถ เอี่ยมวิโรจน์ หรือชื่อที่คุ้นเคยในหมู่ชาวมลายูปาตานีจังหวัดนราธิวาสเรียกขานว่า ” ครูซอมัด ” เป็นคนมีพื้นเพดั้งเดิมเกิดและเติบโตสำเร็จการศึกษาในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ที่มีความคิดและฝักใฝ่การเมืองตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม ได้เดินทางลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส มีอาชีพเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตเทศบาล มีจิตใจโอบอ้อมอารีชอบช่วยเหลือชาวบ้านในการประสานงานกับทางราชการ เพราะมีความรู้ภาษาไทยเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่ยังสื่อภาษาไทยไม่ ค่อยได้ จึงเป็นที่นิยมรักใคร่ของชาวบ้านเป็นอย่างดี เมื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส จึงได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านที่เป็นมุสลิมอย่างล้นหลาม และเมื่อได้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนราษฎรก็มีบทบาทสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของ ชาวบ้านไปยังรัฐบาลโดยอาศัยทางเวทีรัฐสภา เช่น ยื่นกระทู้ถามรัฐบาล เรื่องราษฎรมีความเดือดร้อนไม่มีข้าวสารบริโภคอย่างเพียงพอ เนื่องจากมีพ่อค้าข้าวได้ลักลอบนำข้าวสารไปขายยังต่างประเทศที่ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายโดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดร่วมแสวงหาผลประโยชน์อยู่ด้ว และยังได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาล เรื่อง โต๊ะครูหะยีมูฮัมหมัดตอเฮร์หรือโต๊ะดูกู ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส จับกุมเอาไปขังอยู่ในห้องขังหนึ่งคืนและเสียชีวิตในห้องขัง เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความโกรธแค้นในหมู่ชาวมลายูปาตานีเป็นอย่างมาก เพราะโต๊ะครูท่านนี้มีลูกศิษย์ลูกหามากมายและยังเป็นที่เคารพนับถือของชาว มลายูปาตานีโดยทั่วไป การทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้กับชาวบ้านดังกล่าวย่อมทำให้ข้าราชการและพ่อค้า อิทธิพลไม่พอใจ จึงเป็นที่มาของการสังหาร นายสมรรถ เอี่ยมวิโรจน์ ในยามวิกาลตรงหน้าบ้านของท่านในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสเมื่อปี 2498 ส่วนมัจจุราชที่เป็นมือสังหารไม่ใช่ใครอื่น ได้แก่นายตำรวจชั้นสัญญบัตรนายหนึ่งกับตำรวจชั้นพลตำรวจอีกนายหนึ่งนั่นเอง

นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นชาวบ้านอำเภอละงู จังหวัดสตูล มีความรู้ทางด้านศาสนาและสามัญเป็นอย่างดี ในระหว่างที่เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้แสดงบทบาทคัดค้านจอมพล ป. ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องการพิจารณาการจัดการกับศพที่ตายด้วยโรค อหิวาตกโรคโดยให้เอาศพไปเผาสถานเดียว นายเจ๊ะอับดุลลาห์ ฯ จึงท้วงติงว่าสำหรับศพของคนมุสลิมไม่สามารถเอาไปเผาได้ เพราะขัดกับหลักการณ์ของศาสนาอิสลาม การท้วงติงของนายเจ๊ะอับดุลลาห์ฯมีผลทำให้ศพของมุสลิมได้รับการยกเว้น สามารถเอาไปฝังตามหลักศาสนาได้ และท่านยังได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ จริงกรณีการปะทะกันระหว่างตำรวจไทยกับชาวบ้านดุซงญอ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25-27 เมษายน 2491 ซึ่งทางการไทยกล่าวหาว่าชาวบ้านดุซงญอเป็นกบฎต่อรัฐไทย ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐไทยเข้าไปแทรกแซงการทำ พิธีกรรมของชาวบ้านที่กำลังอาบน้ำมันเดือดจะทำให้ร่างกายอยู่ยงคงกระพันธ์ เพื่อต่อสู้ป้องกันตัวจากภัยคุกคามของขบวนการจีนคอมมิรนิสต์มลายา