ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (9)

เหตุการณ์สู้รบที่ดุซงญอมีผลทำให้มีผู้สูญเสียชีวิตทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่และ ชาวบ้านรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยศพ และชาวบ้านได้อพยพลี้ภัยเข้าไปยังเขตประเทศมลายูภายใต้การปกครองของอังกฤษใน เขตพื้นที่รัฐเปรัคนับเป็นจำนวนพันคน ซึ่งบัดนี้คนเหล่านั้นและลูกหลานได้กลับกลายเป็นพลเมืองของประเทศมลายูโดย ปริยายภายหลังจากมลายูได้รับเอกราชจากอังกฤษต่อมาจึงเปลี่ยนประเทศเป็น มาเลเซีย

การที่รัฐบาลแต่งตั้งนายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นประธานคณะตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการปะทะกันระหว่างชาวมลายูปาตานีบ้านดุ ซงญอกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผลการสอบข้อเท็จจริง ออกมาไม่ตรงกับการรายงานของเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนราธิวาสที่รายงานไปสู่ส่วน กลาง ซึ่งรายงานของเจ้าหน้าที่นั้นเป็นรายงานว่าชาวมลายูปาตานีบ้านดุซงญอก่อกา รกบฎมีโต๊ะแปรัคเป็นชาวมลายูในประเทศเพื่อนบ้านเป็นผู้นำทำพิธีทางไสยศาสตร์ เพื่อต่อสู้กับทางฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองและยังโยงไปถึงเป็นพรรคพวกตวนกู รูหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีฐาน กบฎแบ่งแยกดินแดน เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เรียกวีรกรรมการสู้รบครั้งนี้ว่า วีรกรรมปราบปรามกบฎดุซงญอ และได้สร้างอนุสาวรีย์ลูกกระสุนปืนตั้งยืนบนฐานพื้นคอนกรีตยกพื้นตรงหน้ากอง กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาสหลังเก่าไว้เป็นประวัติศาสตร์ระลึกถึง วีรกรรมการสู้รบของตำรวจไทยอย่างหาญกล้าในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นการตอกย้ำและสร้างรอยบาดแผลให้ร้าวลึกลงในหัวใจของชาวมลายูปาตานีไป อีกอย่างยากที่จะลืมเลือนได้ บทบาทของนายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ครั้งนี้ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของเจ้าหน้าตำรวจและข้าราชการในพื้นที่ไม่น้อย อย่างไรก็ตามแม้บทบาทของนายเจ๊ะอับดุลลา์ฯไม่โดนใจข้าราชการในพื้นที่ ก็ไม่เคยปรากฎว่าทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะรายงาน พฤติกรรมของนายเจ๊ะอับดุลลาห์ฯว่าส่อไปในทางการเคลื่อนไหวจะแบ่งแยกดินแดน เหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นชาวลายูปาตานีในจังหวัดปัตตานี นราธิวาสและยะลา ทั้งๆที่นายเจ๊ะอับดุลลาห์ฯแสดงออกความเป็นตัวตนในชาติพันธุุ์ความเป็นมลายู ตลอดเวลา เช่น สวมหมวกซงเกาะ(หมวกดำ)เข้าไปประชุมในสภาผู้แทนรษฎรและประชุมในคณะรัฐมนตรี ทุกครั้ง และในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีพอถึงเวลาละหมาดก็จะขออนญาตจากนายกรัฐมนตรีไป ทำการละหมาดให้เสร็จสิ้นภารกิจต่ออัลลอฮ.เสียก่อน จนทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพักการประชุมทุกครั้ง นับได้ว่าเป็นการสร้างสีสรรค์ในเวทีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง

สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง ชาวมลายูปาตานีที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนติดต่อประเทศมลายู โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขาได้ประสบความเดือดร้อนจากการคุกคามจากโจรจีน คอมมิวนิสต์มลายาเป็นอย่างมาก ซึ่งโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาภายใต้การนำาของจีนเป็งได้หลบหนีจากการปราบปราม ของทหารอังกฤษ เข้ามาอาศัยพักพิงตั้งค่ายในเขตฝั่งไทย เช่น ในเขตพื้นที่อำเภอแว้ง สุคิรินทร์ จะแนะ สุไหงปาดี เบตง สะเดา สะบ้าย้อย และยะหา ชาวมลายูปาตานีและชาวจีนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาต้อง จ่ายภาษีเถื่อนให้กับองค์กรโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา และยังถูกเกลี้ยกล่อมให้เป็นสมาชิกพลพรรคคอมมิวนิสต์จีน คนหนุ่มสาวทั้งจีนและมลายูปาตานีได้รับการอบรมลัทธิคอมมิวนิสต์และฝึกฝนด้าน อาวุธเป็นกองกำลังทหารของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา จึงเป็นปฏิปักษ์กับทางการไทยและทางมลายู

โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา( ชื่อตามที่รัฐบาลไทยและอังกฤษเรียก ) เป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ได้รับอิทธิพลจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนแผ่นดินใหญ่ มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่อยู่ในมลายูและชาวมลายูส่วนน้อย ซึ่งขณะนั้นมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเวลานานนับร้อยปี ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธกับรัฐบาลอังกฤษเพื่อเรียกร้อง เอกราชและจะนำประเทศไปสู่ความเป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ชาวมลายูและจีนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพาปะทุขึ้น ญี่ปุ่นได้ยกกองทัพบุกรุกเข้าสู่ดินแดนอาณานิคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของ เจ้าอาณานิคมตะวันตก เช่น มลายู อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ เป็นต้น

การที่กองทัพญี่ปุ่นได้เข้าไปยึดมลายูที่อยู่ในการปกครองของอังกฤษ ทำให้กองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาโดยการนำของจีนเป็งได้ทำข้อตกลงเป็น พันธมิตรกับอังกฤษเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นโดยมีข้อตกลงกันว่าเมื่อ ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามแล้ว อังกฤษยินยอมจะคืนเอกราชแก่มลายูและอนุญาตให้โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาตั้ง พรรคการเมืองคอมมิวนิสต์เพื่อต่อสู้ตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย อันเป็นการรับปากคำเช่นเดียวกันกับที่ให้คำมั่นสัญญากันกับตนกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน ทายาทของอดีตเจ้าเมืองปาตานีคนสุดท้ายคือ พระยาวิชิตภักดี( ตนกูอับดุลกาเดร์ บินตนกูกามารุดดิน ) ที่เป็นนายทหารอังกฤษต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่น ว่าหากญี่ปุ่นและไทย(สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำพาประเทศเข้าสู่สงครามร่วมรบกับญี่ปุ่น)พ่ายแพ้สงครามก็จะแยกปาตานีให้ เป็นอิสระออกจากประเทศไทยและมอบตำแหน่งสุลต่านปาตานีแก่ ตนกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน แต่ปรากฎว่าอังกฤษกระทำผิดสัญญา เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลงญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ทันใดนั้นอังกฤษได้ใช้กองกำลังที่อยู่ในการปกครองของตนโจมตีฐานที่มั่นต่างๆ ของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาจนต้องถอยร่นออกจากดินแดนของมลายูใต้ปกครองของ อังกฤษเข้ามายังฝั่งเขตแดนไทย และได้ตั้งฐานที่มั่นเป็นการถาวร สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในเขตฝั่งไทยต้องถูกคุกคามและอยู่ใต้ อิทธิพลมืดมาตลอดเป็นการสร้างปัญหากับรัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัย จนทำให้รัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียได้ตกลงกันให้ถือว่า โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายาเป็นปัญหาร่วมกันของประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ในที่สุดโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายายอมยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธกับรัฐบาลมาเลเซีย ด้วยการประสานงานของ พล.ท.กิตติ รัตนฉายา แม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการกองทัพบกสมัยนั้น และเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยอาศัยผืนแผ่นดินไทยเป็นที่อยู่อาศัยและต่อมา ได้สิทธิในที่ดินและความเป็นพลเมืองไทยมีบัตรประชาชนไทยกันทุกคน

ส่วนคำมั่นสัญญาที่อังกฤษให้กับตนกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน ว่าหากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามแล้ว อังกฤษจะแยกให้ปาตานีเป็นอิสระและตนกูมะห์มุด ฯจะได้เป็นสุลต่านนั้น ยังไม่ถือว่าอังกฤษทำผิดสัญญา เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่นทั้งๆที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประกาศร่วมรบกับญี่ปุ่นเป็นศัตรูกับฝ่ายพันธมิตรที่มีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้นำ ทั้งนี้เพราะความไหวพริบมองการณ์ไกลด้วยความชาญฉลาดของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยร่วมรบกับประเทศพันธมิตรประกาศเป็นศัตรูกับญี่ปุ่น ไม่ยอมรับการประกาศร่วมรบกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทยขณะนั้น โดย ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยและมอบหมายให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นเมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามภายหลังถูกสหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูที่ เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิแล้ว ขบวนการเสรีไทยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาให้เป็นฝ่ายชนะสงครามด้วย และถือว่าการประกาศนำประเทศไทยร่วมรบกับญี่ปุ่นเป็นโมฆะ ประเทศไทยเลยรอดจากการที่อังกฤษจะคิดบัญชีแค้นเฉือนปาตานีให้แยกเป็นอิสระ จากไทย

การเลือกตั้งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 ใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

จังหวัดปัตตานี ได้แก่ พระพิพิธภักดี ( ตนกูมุคตาร์ อับดุลบุตร ) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ นายเอิบ อิสสระ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดยะลา ได้แก่ นายประสาท ไชยโท เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสตูล ได้แก่ นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ จังหวัดปัตตานีกับจังหวัดนราธิวาสได้มีการเปลี่ยนผู้แทน คือ จังหวัดปัตตานี พระพิพิธภักดี เคยได้รับการเลือกตั้งปี 2480 ได้กลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง ส่วนจังหวัดนราธิวาสได้ผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องเขยนายวงศ์ ไชยสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส ปี 2489 และเป็นบุคคลที่กว้างขวางมีอิทธิพลสูงในหมู่พ่อค้านักธุรกิจและข้าราชการใน อำเภอสุไหงโกลกและระดับจังหวัดนราธิวาส