ราชวงค์โมกุล : บริบทการปกครอง ยุคกษัตริย์อัคบาร์ ตอนที่ 2 (จบ)

สุสานหุมายูน Humayun’s Tomb
สุสานหุมายูน (Humayun’s Tomb) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้หินทรายแดงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพของพระเจ้าหุมายูน ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่สองของราชวงศ์โมกุล (ภาพ วิกิพีเดีย)

ความยิ่งใหญ่แห่งเอเชียใต้ในอดีตตั้งแต่ ศตรววษที่ 16-19 ถือเป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองที่ยาวนานและประสบความสำเร็จในยุคหนึ่ง แม้ว่าจุดสูงสุดจะอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17  การครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ จากอ่างเบงกอล ถอดยาวไปถึงเปอร์เชีย  ราชวงค์โมกุลทำให้อินเดียเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมความลงตัวทางด้านศาสนา มุสลิม ฮินดู คาทอลิก อยู่ด้วยกันได้อย่างสันติสูข จักรวรรดิโมกุลกับการเติบโตสมัยของออรังเซบ ถือว่าเป็นจุดที่ก้าวหน้ามากที่สุดและขยายดินแดนออกไป จากอัฟกานิสถาน ตะวันออกของแคชเมียร์ สุดทางตะวันตก ยะใข่พม่า ลงใต้สุดไปยังรัฐ ทมิฬนาฑู ทอดยาวความยิ่งใหญ่มากถึง 4 ล้านตารางกิโลเมตร อนาจักร ออรังเซปที่ขยายมากถึง 150 ล้านคน มากถึง 1 ใน 4 ของโลก ถือเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการผลิตสินค้าที่ยิ่งใหญ่มากจนชาติยุโรปในอดีตไม่สามารถที่จะเทียบชั้นได้ 

เรื่องราวการเมือง เศรษฐกิจ การปกครอง ในยุคของสมัยราชวงโมกุล “สิ่งที่ทราบถึงการจัดเก็บภาษีในแต่ละปีที่มากมายมหาศาลมากกว่าราชวงค์ของยุโรปหลายสิบเท่า บทพูดอ้างอิง จาก ดร อนัฒ อมตยากุล” ประสบการณ์ที่ยาวนานและการนำแนวคิดจากบรรพบุรุษ ที่เป็นเหมือนปรัชญาทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศอินเดีย ความสำเร็จในอดีต แห่งยุคอินเดียโบราณ การผลิตการค้าสาธานูปโภค สวัสดิการสังคมถูกนำมาใช้ตั้งแต่ราชวงค์อิสลามในอดีตเคยทำและประสบความสำเร็จมาแล้ว และหากจะพูดถึงความรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ที่เป็นระบอบการพานิชย์ที่รุ่งโรจน์กับสองฝั่งทะเลที่ทอดยาว ในด้านของอาราเบียน และมหาสมุทรอินเดีย จากอดีตในคริสต์ศักราช 1000-1600 ความเป็นอธิปไตยของอินเดีย และบางช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ การที่อินเดียอาจจะรับรู้ถึงประวัติศาสตร์และให้การตระหนักถึงความสำคัญของกิจการบ้านเมืองในอดีต ดินแดนที่ผ่านช่วงเวลาที่ยาวนาน หลายอย่างที่ประเทศนี้ตกพลึกทางความคิดและไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างรวดเร็วในโลกปัจจุบัน  

จุดเริ่มต้นของอังกฤษในการก้าวเข้าสู่อินเดียอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในยุค 1615 โดย โทมัส โรว์  เป็นการมาเยือนที่เรียนว่าขั้นปฐมฤกษ์ ถือว่าเป็นคนอังกฤษคนแรกที่เหยียบแผ่นดินอินเดีย และเข้ามาตั้งรกราก จนมีการค้าขายหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทั้งบทบาทของโปรตุเกส การดำเนินการภายใต้กฏเกณฑ์การเดินเรือที่เกิดขึ้นในยุคนั้น การเดินทางเยือนของอังกฤษในครั้งแรก นักประวัติศาสตร์บางท่านอาจจะให้ข้อมูลได้ดีกว่า เพราะความยาวนานของ ประวัติศาสตร์ที่เขียนจากตะวันตกบางบริบทจะมีทิศทางการอ้างอิงที่ไม่ได้มาจากฝั่นตะวันออกทั้งหมด  ถึงอย่างไร อาณาจักรโมกุล อินเดียเป็นอาณาจักรที่มีความซับซ้อนทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ความซับซ้อนทั้งในเรื่องความมั่งคั่งของอำนาจ ความต้องการสินค้า ถึงอีกหนึ่งเรื่องราวที่ยาวนาน ว่า อังกฤษ โปรตุเกศ ฮอลลันดา ฝรั่งเศษกับ การก้าวเข้ามาเหยียบแผ่นดินอินเดีย ถือเป็นบทเรียนในประวัติศาสตร์ที่ชาติเหล่านั้นรับรู้และเข้าถึงเป็นอย่างดี

จักวรรดิที่ได้แผ่ขยายอำนาจไปทั่วทั้งในตอนเหนือตอนกลางของอินเดีย ในช่วงปี 1562-1857 แต่ก่อนช่วงเวลาที่ ผู้ปกครองโมกุลมุสลิมการที่ได้สร้างยุคทองทางประวัติศาสตร์ของอินเดียที่เต็มไปด้วยศิลปะความสำเร็จทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง ต่อมาในยุคโมกุลที่ต้องเจอกับการรุกล้ำโดยฝรั่งเศษและอังกฤษจนถึงถึงคราวล่มสลายในเวลาต่อมา ราชวงศ์์สุดท้ายต้องพบกับความสูญเสีย โดนจับเป็นเชลย และอนุสรณ์สถานหลุมศพถูกฝังอยู่ที่พม่า

หลายช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์ได้นำเสนอคำอธิบายมากมายถึงการเติบโตและการล่มสลายยิ่งในช่วงเวาที่น่าสนใจ ศตวรรษที่ 1700 การเจริญเติบโต ความรุ่งเรือง แม้ความเสื่อมถอยที่จะเกิดขึ้นจากการทำสงคราม ถึงการเข้ามาของ East India company จนมาถึงยุคที่โมกุลถึงวาระสุดท้ายด้วยการยึดครองของอังกฤษในปี 1858 ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมปกครองในรูปแบบของอังกฤษ British Raj จากนั้นเป็นช่วงที่มีการสร้างสารระบบนโยบายการบริหารงาน การโอนถ่ายเรื่อยมา 

อังกฤษมีอำนาจขยายตัวในอินเดีย 1857-58 มีการเปลี่ยนแปลง แต่สหราชอาณาจักรยังดำเนินการอย่างรัดกุม และอินเดียก็เป็นเมืองด่านหน้าของจักรวรรดิอังกฤษอันยิ่งใหญ่ในเวลานั้น แม้ภายหลังที่การปกครองอินเดียได้เผชิญหน้ากับคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการยึกครองของอังกฤษ Sipoy munity ที่มีความโกรธแค้นอังกฤษในหลายช่วงเวลาและถือว่าเวลานั้นเป็นจุดแตกหัก การประทุขึ้นของกบฎในอินเดียช่วงปี 1857 การล่าสังหารชาวอังกฤษทั้งหมดที่พบเจอในกรุงนิวเดลี แต่จำนวนกบฏ 8000 กว่าคนที่จากส่วนใหญ่ก็ยังคงภักดีต่ออังกฤษ ช่วงเวลาที่อังกฤษส่งกองกำลังทหารเข้าไปในอินเดียมากขึ้นและก็ประสบความสำเร็จในการปราบปรามโดยใช้จรยุทธแบบประนีีประนอม  และทำการฟื้นฟูกฎระเบียบวินัยทำให้เมืองใหญ่อย่างงนิวเดลีถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพที่แย่จากการล่าสังหารของกบฏและ จากนั้นก็ยอมจำนนและถูกฆ่าตายโดยทหารอังกฤษ

ร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่ จุดสูงสุดจนถึงวาระสุดท้าย เป็นบทเรียนวรรรกรรมให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ช่วงเวลาแห่งการเติบโต ทั้งอาณาจักรในอดีตจนถึงราชวงค์โมกุลล้วนเป็นอนาจักรที่การปกครองเป็นมุสลิมที่เรืองอำนาจขยายอาณาเขตออกไปไกล วาระสุดท้ายถือได้ว่าโมกุลเป็น ยุคทองยุคสุดท้ายของอินเดีย สิ่งที่หลงเหลือถึงความงาม อนาจักรโมกุลได้ทิ้งร่องรอยความยิ่งใหญ่ สถาปัตยกรรม อนุสรณ์ ต่างๆ มากมาย ทัชมาฮาล ป้อมแดงในนิวเดลี ป้อมลาฮออยู่ในปากีสถาน แม้จะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดการล่มสลาย ทั้งความอ่อนแอ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กระนั้นหลายช่วงเวลาของราชวงค์ที่ยิ่งใหญ่นี้ก็ได้ถูกบรรจุอยู่ในตำนานและยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างไม่สิ้นสุด