ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึง แนวโน้มเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ที่เหลือนี้ (พ.ศ.2557) น่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่มีการขยายตัว ติดลบ อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปีไม่น่าจะเกิน 2% ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ส่งออกขยายตัวติดลบ การถูกตัดจีเอสพีจะทำให้สถานะการส่งออกของไทยมีความยากลำบากมากขึ้นในอนาคต การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวดีนัก แต่การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคกระเตื้องขึ้นมาบ้าง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะปรับตัวไปในทิศทางดีขึ้นในปีหน้า (พ.ศ. 2558) โดยมีปัจจัยสำคัญจากพลังขับเคลื่อนของการลงทุนเอกชนโดยเฉพาะต่างชาติอันเป็น ผลจากการรวมกลุ่มภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาล ปัจจัยบวกเหล่านี้จะขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อระบบการเมืองมี เสถียรภาพและกลับคืนสู่ประชาธิปไตยได้โดยไม่มีอุปสรรค เขตเศรษฐกิจพิเศษจะช่วยทำให้การค้าการลงทุนในพื้นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและ เป็นกลไกที่ไทยจะได้รับประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพิ่มขึ้นทางด้าน การค้าและการลงทุน แต่เราต้องคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตของชุมชน คุณภาพชีวิตของแรงงานด้วย ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน บรรษัทข้ามชาติ ทุนไทย ทุนท้องถิ่น ทุนเอสเอ็มอี ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมจะช่วยกำหนดดุลยภาพที่ดีด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อันมีผลต่อชีวิตของผู้คนและประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโดย เน้นการส่งออกไม่น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมภายใต้พลวัตสิ่งแวดล้อมใหม่ ประเทศไทยอยู่ในช่วงความจำเป็นในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การผลิตแบบใหม่ ซึ่งไม่อาจอาศัยแรงงานราคาถูกเพื่อการส่งออกและสินค้าส่งออกที่อาศัยฐาน ทรัพยากรโดยไม่สร้างมูลค่าเพิ่มหรือนวัตกรรมได้อีกต่อไป
รัฐไทยต้องเป็นรัฐ ประชาธิปไตยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมีระบบสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพและเข้มแข็งแต่ต้องเป็นระบบ สวัสดิการที่กระตุ้นให้เกิดผลิตภาพที่สูงขึ้นด้วย (Productive Welfare System) จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว การขยายความคุ้มครองทางสังคมเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการพร้อมกับการ จัดเก็บภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก อย่างไรก็ตาม ภาษีมรดกอาจมีต้นทุนในการจัดเก็บสูงและรัฐอาจจะมีรายได้ไม่มากนักจากภาษีดัง กล่าว รัฐบาลจึงควรให้ผู้มีฐานะร่ำรวยเลือกว่าต้องการบริจาคให้กับสาธารณะโดยตรง หรือจะจ่ายเป็นภาษีมรดก
รัฐไทยมีปัญหาความ เหลื่อมล้ำรุนแรงมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายที่ทำให้เกิดการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ไม่ก่อให้เกิดการกระจายตัวของรายได้ ทรัพย์สิน ผลประโยชน์และโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่มากพอ ปัญหาความเหลื่อมล้ำรุนแรงต้องแก้ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยที่มีคุณภาพเพื่อ ให้เกิดทั้งประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม หรือ ประชาธิปไตยสมบูรณ์นั่นเอง
ทางด้านการเมืองนั้น เราอยู่ภายใต้รัฐบาลรัฐประหารและเราปฏิรูปประเทศไทยภายใต้กฎอัยการศึก จึงขอเสนอให้สภาปฏิรูปดึงการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนให้เข้าร่วมกระบวนการ ปฏิรูป เรื่องไหนเป็นการปฏิรูปสำคัญและมีความเห็นต่างทางความคิดมากควรจัดให้มีการ ลงประชามติ รวมทั้งเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องยึดหลักการประชาธิปไตย เราควรร่วมกันพลักดันให้กระบวนการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเป็น ไปตามกำหนดเวลา
ขบวนการแรงงานควรเป็น พลังสำคัญของฝ่ายประชาธิปไตย แต่ทำไมขบวนการแรงงานจึงอ่อนแอและขาดเอกภาพและยังอาจถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ในช่วงการประกาศกฎอัยการศึก สหภาพแรงงานเป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีระบบการจัดตั้งที่ดีที่สุด แต่ทำไมจึงมีอำนาจในการต่อรองและผลักดันนโยบายสาธารณะไม่มากนัก บรรดาผู้นำสหภาพแรงงานและคนงานต้องไปพิจารณาหาทางพัฒนาบทบาทของขบวนแรงงาน เพิ่มขึ้น
ในอีกด้านหนึ่ง เราต้องมีความหวังที่จะทำให้ “ไทย” เดินหน้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในอีก 15-20 ปีข้างหน้าแล้วเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย พื้นฐานที่สุดที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้ คือ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยมี “คนไทย” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เปล่าประโยชน์ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว แล้วคนไทยไม่มีความสันติสุข ไม่มีคุณภาพชีวิต
นวัตกรรมของประเทศ จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ขณะที่ เราไม่สามารถเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม ที่สูงยิ่ง
การปฏิรูปเศรษฐกิจภาย ใต้ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถทำเรื่องยากๆได้หากระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็น ประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอำนาจอย่างแท้จริง กรณีที่การปฏิรูปเศรษฐกิจไปขัดกับผลประโยชน์คนส่วนน้อยอภิสิทธิ์ชนก็สามารถ ทำให้บรรลุเป้าหมายได้ด้วยพลังของประชาชนส่วนใหญ่ กระบวนการประชาธิปไตยย่อมมีความล่าช้าเป็นปรกติ เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดึงการมีส่วนร่วมของผู้คนที่เกี่ยวข้องให้มาก ที่สุด เมื่อมีการพลักดันให้เกิดขึ้นแล้วจะมีแรงต่อต้านน้อยมาก ขณะที่การปฏิรูปเศรษฐกิจที่อาศัยอำนาจเผด็จการบนสู่ล่างด้วยการสั่งการอาจ ขาดความรอบคอบและขาดการมองปัญหาอย่างรอบด้าน การปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้ระบอบอำนาจนิยม อาจทำให้เกิดแรงต่อต้านในภายหลัง หากผู้เผด็จการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม แรงต่อต้านจะน้อยลง หากผู้เผด็จการมีที่ปรึกษาที่ดี และทำตามข้อเสนอที่มีวิสัยทัศน์ ก็อาจเห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศในทางที่ดีขึ้นก็ได้โดยไม่ต้องใช้เวลาในการ ดำเนินการนานเท่ากับการดำเนินการผ่านกระบวนการประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำด้วยทุนผูกขาดก็จะมีปัญหาเช่นเดียวกันกับระบอบอำนาจ นิยม