ทวิตเตอร์ชาวอาหรับฉะปธน.ฝรั่งเศส ทำราวเลบานอนยังเป็นอาณานิคม

ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง (ซ้าย) และ มิเชล อูน ประธานาธิบดีเลบานอน ในเบรุต ประเทศเลบานอน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2020 [Lebanese Presidency / Anadolu Agency]

MEMO – การเยือนเลบานอนของประธานาธิบดีฝรั่งเศสเอ็มมานูเอล มาครง เมื่อวันพฤหัสบดี (6 ส.ค.) ทำให้เกิดการถกเถียงในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียชาวอาหรับต่อลักษณะของการเยือนนี้

ในขณะที่บางคนเชื่อว่าการเยือนครั้งนี้เพื่อแสดงการสนับสนุนเลบานอนหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือเบรุต แต่บางคนเชื่อว่ามีนัยยะแอบแฝงที่ “ไม่บริสุทธิ์ใจ”

มาครงเดินทางไปเยือนเลบานอนในวันพฤหัสบดีและพบกับผู้นำทางการเมืองและเยือนถนนเกมมาเซะ (Gemmayzeh) ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเบรุต

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้พูดคุยกับประชาชนและรับรองว่าฝรั่งเศสจะให้ความช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่นักการเมือง

เกิดระเบิดร้ายแรงที่ท่าเรือเบรุตเมื่อวันอังคาร 4 ส.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 154 คน บาดเจ็บ 5,000 คน และมีผู้สูญหายอีกหลายสิบคนใต้ซากปรักหักพัง

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าการระเบิดเกิดขึ้นในโกดังของท่าเรือ ซึ่งทางการยืนยันว่ามีแอมโมเนียมไนเตรตประมาณ 2,750 ตันซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2014

อับเดลคาเดร์ ฟาเยซ นักข่าวชาวปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ในอิหร่านระบุว่า มาครง “ทิ้งวิกฤตภายใน (ประเทศของตน)​ และความล้มเหลวระหว่างประเทศ และทำราวกับว่าเลบานอนเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส โดยพูดถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สัญญาทางการเมืองใหม่ และเลบานอนใหม่”

ฟาเยซกล่าวเสริมในทวีตว่า “ราวกับว่าฝรั่งเศสกำลังลงทุนในภัยพิบัติเบรุตเพื่อที่จะเปลี่ยนตำแหน่งตัวเองในภูมิภาคที่บทบาทของตนลดลงอย่างมาก”

ส่วน บาชีร์ นาฟี นักประวัติศาสตร์ชาวปาเลสไตน์ในสหราชอาณาจักรทวีตว่า “นานแล้วที่ฝรั่งเศสไม่ได้เห็นประธานาธิบดีที่ไม่สามารถยับยั้งความทะเยอทะยานทางลัทธิจักรวรรดินิยมของตน อย่างเอ็มมานูเอล มาครง”

“ ชายคนนี้ประกาศอย่างไม่อายว่าเขากำลังอยู่ในกระบวนการกำหนดสัญญาฉบับใหม่สำหรับชีวิตทางการเมืองของเลบานอน และเขาปฏิบัติตัวในช่วงสั้นๆ ที่เขาไปเยือนเบรุตที่ตกระกำลำบากราวกับว่าเลบานอนยังคงเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส” นาฟีกล่าวเสริม

ขระที่ ยามานี บินอิสลาม อัลซัลมี นักเคลื่อนไหวชาวเยเมนทวีตว่า “เราอาศัยอยู่ในศตวรรษที่ 21 และโลกได้กลายเป็นหมู่บ้าน ยุคของลัทธิล่าอาณานิคมได้หายไปนานแล้ว ยกเว้นในความคิดของมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส”

อัล – ซัลมีกล่าวว่า: “ [มาครง] กำลังแสดงและประกาศการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในเลบานอน ราวกับว่าเลบานอนยังคงเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส หรือที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเขา”

ชาวอียิปต์ชื่อ นูรุดดีนทวีตว่า “มาครงกำลังพูดถึงเลบานอนใหม่และเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ราวกับว่าเลบานอนเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส”

ผู้ใช้ทวิตเตอร์บางคนยังวิพากษ์วิจารณ์การที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะจับมือกับมิเชล อูน ปธน.เลบานอน ในขณะที่เขาพบปะกับประชาชนตามท้องถนนและกอดผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังทำความสะอาดถนน

การระเบิดครั้งใหญ่ในเลบานอนนี้ทำให้ความคับข้องใจต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรง และการแบ่งขั้วทางการเมืองอย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายเดือน ในฉากที่ซับซ้อนทั้งในฝ่ายระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ

เลบานอนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสระหว่างปี 1920 ถึง 1943 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามหน่วยงานที่กำหนดโดยข้อตกลงไซคส์ – พิโกต์ (Sykes-Picot) ที่ให้อำนาจจักรวรรดินิยมเข้าควบคุมเหนือพื้นที่ที่เดมิของออตโตมัน