สถานการณ์ หนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของแบงก์รัฐยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) พบว่าครึ่งแรกปี 2558 มีเอ็นพีแอล 2.06 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 หมื่นล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 5.5% ของสินเชื่อรวม โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออุปโภคบริโภค
นอกจากนี้สินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) อยู่ที่ 1.58 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.44 หมื่นล้านบาท หรือ 27.9% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้น 59.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้น กล่าวถึงเป็นพิเศษต่อสินเชื่อรวม (SM Ratio) อยู่ที่ระดับ 4.2% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระดับ 2.8 %
สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ระบุว่า ปัจจุบันที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือ”แบงก์รัฐ” แม้ปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นห่วง เพราะอยู่ในระดับที่ดูแลได้ แบงก์ปกติก็เดินหน้าทำงานได้ ส่วนแบงก์ที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูผลการดำเนินการ ก็ต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
สำหรับ หนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือที่ผิดนัดชำระ 1-3 เดือนนั้น เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ตกชั้นไปเป็นเอ็นพีแแอล ธนาคารต้องเข้าไปดูว่ามีปัญหาอะไร มีเหตุอะไรให้ผิดนัดชำระที่จะช่วยเหลืออย่างไร ในความเป็นจริงเขาอาจจะไม่ได้เลวร้ายอะไร เพียงแต่ขาดสภาพคล่องหรือไม่เท่านั้น
หาก แบงก์รัฐมีปัญหาเรื่องขาดสภาพคล่องรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลืออยู่แล้วทั้งสิน เชื่อดอกเบี้ยต่ำหรือ”ซอฟท์โลน”1แสนล้านบาทและการปรับเงื่อนไขการค้ำประกัน สินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ให้จูงใจธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้เอสเอ็มอีมากขึ้น
ด้านนาย ลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เห็นว่าสถานการณ์เอ็นพีแอลของธนาคารล่าสุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับเกือบ 4% มาอยู่ที่ระดับ 5% ของสินเชื่อรวม เป็นการเพิ่มขึ้นจากส่วนที่เป็นหนี้ที่มีการกล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือเอสเอ็ม(SM) หรือที่ผิดนัดชำระ 1-3 เดือน เพราะเข้าไปจัดการไม่ทัน ทำให้กลุ่มนี้ตกชั้นมาเป็นเอ็นพีแอล ธนาคาร ได้เชิญทางฝ่ายปฏิบัติการมาหารือเพื่อเร่งดำเนินให้แก้ไขปัญหา หากเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีปัญหารุนแรงมากนัก ธ.ก.ส.จะขยายเวลาคืนหนี้ เพื่อทำให้งวดการชำระสอดคล้องกับรายได้ของลูกค้า ทำให้ไม่เป็นเอ็นพีแอล
แต่ ส่วนที่เป็นเอ็นพีแอลแล้ว ต้องเข้าไปรีวิวเป็นราย โดยให้พนักงานสาขาเข้าไปพูดคุยดูแล ส่วนที่หนักจริงๆ ต้องปรับโครงสร้างหนี้ ตามมาตรการที่ธนาคารมีอยู่ แม้เอ็นพีแอลจะเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารมีการตั้งสำรองอยู่แล้ว 100% หากลูกค้ากลับมาชำระคืนได้ติดต่อกัน 3 งวด กลับเป็นลูกค้ากลุ่มปกติได้
ทั้งนี้ เอ็นพีแอลส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก เป็นผลมาจากรายได้สินค้าภาคเกษตรปรับลดลง โดยเฉพาะยางพารา และข้าว ซึ่งลูกค้าที่เป็นเกษตรกรชาวนา ไม่ได้ทำนาปรังเมื่อปีที่แล้ว ส่วนนาปีปีนี้ก็ได้ทำบางส่วน ไม่เต็ม 100% รายได้จึงหายไป ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยกลุ่มนี้ ธนาคารเข้าไปดูแล เกษตรกรสามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อมีน้ำมา ส่วนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ค่อยมีปัญหา ซึ่งได้ พูดคุยหารือกันว่า ธนาคารสามารถเข้าไปดูแลช่วยเหลือ และเร่งรัดการแก้ปัญหาเรื่องหนี้ให้กับลูกค้า เพื่อบริหารจัดการให้เอ็นพีแอลของธนาคารสิ้นปีบัญชี 2558 อยู่ในระดับไม่เกิน 4% เท่าที่ได้พูดคุยกับฝ่ายปฏิบัติการมั่นใจว่าจะสามารถทำได้
โดยที่ นางสาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) มองว่า หลังปล่อยสินเชื่อไปแล้ว ธนาคารมีการดูแลลูกค้าใกล้ชิด โดยให้สาขาติดตามดูกิจการลูกค้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง ต้องดูว่าทำกิจการจริงหรือไม่ นำเงินกู้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งระบบการติดตามลูกค้านี้ มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดเอ็นพีแอลได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อ กลับมาดูหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของ ธนาคารออมสิน นายชาติชาย พยุหนาวี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ยอมรับว่า สถานการณ์หนี้เสียของธนาคารขณะนี้อยู่ในระดับทรงตัวจากช่วงที่ผ่านมา ช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา หนี้เสียต่อเดือนเฉลี่ย 600-800 ล้านบาท ขณะนี้เฉลี่ยที่ 500-600 ล้านบาทต่อเดือน สาเหตุ ที่ทำให้หนี้เสียช่วงที่ผ่านมาปรับสูงขึ้น เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ลูกค้ารายย่อยมีปัญหาชำระหนี้ แต่ธนาคารสามารถเข้าไปบริหารจัดการหนี้เสียให้ดีขึ้น ทำให้ขณะนี้หนี้เสียอยู่ในภาวะทรงตัว
ปัจจุบัน ระดับหนี้เสียต่อสินเชื่ออยู่ที่ 2.05% เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีที่กว่า 1% คาดถึงสิ้นปี จะสามารถบริการจัดการหนี้เสียให้ลดลงมาอยู่ 1.7% จากเป้าที่จะทำให้หนี้เสียอยู่ในระดับ 1.5% ยอมรับ ว่าหนี้เสียเราเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เราได้เข้าไปดู และลดระดับหนี้เสียลงมาได้ ส่วนใหญ่หนี้เสีย เกิดจากลูกหนี้รายย่อย และสินเชื่อบุคคล เดือนก่อนหน้าหนี้เสียขยับเพิ่มขึ้นอีกจากปกติ 200 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเกิดจากลูกหนี้รายใหญ่ที่มีปัญหา
แม้ หนี้เสียธนาคารออมสินจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากเทียบสัดส่วนหนี้เสียของธนาคารกับธนาคารพาณิชย์อื่น พบว่าหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าซึ่งได้เข้าไป บริหารจัดการปิดความเสี่ยงโดยเข้าถึงตัวลูกค้า ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของธนาคาร ยังมีหนี้เสียย้อนกลับราว 20%
สำหรับ ภาพรวมของสินเชื่อ ขณะนี้ยอดคงค้างสินเชื่อ 1.76 ล้านล้านบาท คาดปลายปีอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ตลอดทั้งปีต้องขยายตัว 3 แสนล้านบาท และมียอดสินเชื่อใหม่สุทธิ 1 แสนล้านบาท ปัจจุบันยอดสินเชื่อใหม่อยู่ที่กว่า 1 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับสินเชื่อภาครัฐที่จะเข้ามาจากโครงการสินเชื่อซอฟท์โลน และกองทุนหมู่บ้านอีก 1.3 แสนล้านบาท ทำให้สินเชื่อใหม่ปีนี้ขยายตัวได้ในระดับดังกล่าว
การ ปล่อยสินเชื่อของธนาคารออมสิน มีการพยายามปล่อย แต่มีสินเชื่อภาครัฐก้อนใหญ่คืนหนี้มา 5-6 หมื่นล้านบาท แม้ทำรายย่อยได้ 2-3 หมื่นล้านบาท แต่ภาพรวมยังติดลบ 3-4 หมื่นล้านบาท จะมีสินเชื่อภาครัฐก้อนใหญ่เข้ามา จากโครงการซอฟท์โลน และกองทุนหมู่บ้านอีก 1.3 แสนล้านบาท ช่วยให้สินเชื่อปล่อยได้ตามเป้า ส่วนปีหน้าหากภาวะเศรษฐกิจดี การปล่อยสินเชื่อไม่น่ามีปัญหา
ด้าน นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมปัญหาเอ็นพีแอล ยังไม่น่ากังวลมากนัก แต่ยอมรับธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) มีปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นบ้าง แต่เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ และธนาคารพาณิชย์ก็ติดตามดูแลใกล้ชิด ภาวะ เศรษฐกิจแบบนี้ เอสเอ็มอีก็เป็นกลุ่มที่เห็นความลำบาก เวลาโดนเขามักโดนก่อนคนอื่น แต่ถามว่าน่าห่วงหรือไม่ ก็ตามดูอยู่ แต่ไม่ได้กังวลมากนัก เราตามดูนานแล้ว พอเริ่มซึมก็เข้าไปดูแล้ว
ส่วน สินเชื่อที่ปล่อยให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี แม้มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ แต่วงเงินการปล่อยแต่ละรายไม่ได้สูงมากนัก ดัง นั้นเวลาที่เกิดหนี้เสีย จึงไม่ได้สร้างปัญหาเท่ากับสินเชื่อขนาดใหญ่ แม้เอ็นพีแอลของกลุ่มเอสเอ็มอี จะเพิ่มขึ้นบ้างในช่วงที่ผ่านมา แต่ถ้าเทียบกับสัดส่วนสินเชื่อโดยรวมแล้วไม่ได้มากนัก ทั้งปีนี้เอ็นพีแอลโดยรวมคงไม่เพิ่มขึ้นเกิน 3% เพราะธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังมาก
นี่คือเอ็นพีแอล ของธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารออมสิน แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ทั้งสองธนาคาร ก็ยืนยันว่าดูแลปัญหาเอ็นพีแอลได้ และหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงแรง
ต้องติดตามว่าจากนี้ไป เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ไม่ เพื่อหยุด”เอ็นพีแอล”