ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (ตอนที่ 2)

เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน เป็นบุตรคนสุดท้องของเต็งกูอับดุลกอเดร์ กามารุดดินหรือพระยาวิชิตภักดี รายาคนสุดท้ายของเมืองปาตานีที่มีสถานะเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม เคยได้รับอุปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ศึกษาใน โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในฐานะมหาดเล็กหลวงก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาที่ ประเทศอังกฤษ และได้กลับไปอยู่ที่รัฐกลันตันของอังกฤษเนื่องจากบิดาได้อพยพลี้ภัยการเมือง ไปอยู่อาศัยอยู่ที่รัฐกลันตัน ครั้งเมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยปี 2475 ท่านผู้นี้ได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯพบกับผู้มีอำนาจในขณะนั้น เพื่อแสดงเจตจำนงค์ขออยู่ภายใต้การปกครองของไทย เพราะพึงพอใจที่ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเขาได้อยู่ในประเทศไทยช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ในระหว่างที่รัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้นโยบายวัฒนธรรมชาตินิยมไทยในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพาอยู่นั้น เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน ได้เดินทางออกนอกประเทศและร่วมมือกับอังกฤษโดยเป็นสมาชิกกองกำลังอาสาสมัคร ของกลันตันจนได้รับเหรียญกล้าหาญ ต่อมาได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสถานีวิทยุกระจายเสียง ใต้ดินอังกฤษในกรุงเดลฮี ประเทศอินเดีย โฆษณาเรียกร้องให้คนมลายูต่อต้านญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจต่างๆอีกหลายประการในตะวันออกกลาง และอังกฤษ ภายหลังสงครามได้พำนักอยู่ในรัฐกลันตันและถึงแก่กรรมเม่ือ พ.ศ. 2496 ( วิทยานิพนธ์ส่วนหนึ่งของ นายเฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร )

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับฝ่ายพััน ธมิตร สถานการณ์การเมืองภายในดินแดนที่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกในทวีปเอเซีย เริ่มมีความหวังในเรื่องอิสรภาพมากขึ้น เพราะญี่ปุ่นซึ่งมีอำนาจทางทหารได้ปฏิบัติการทางทหารบุกเข้าไปยึดดินแดน อาณานิคมของชาติตะวันตกได้เกือบทั้งหมด ทำให้เจ้าอาณานิคมทั้งหลายเริ่มอ่อนกำลังลง จึงต้องอาศัยกำลังคนในอาณานิคมเข้าเป็นทหารต่อสู้รบกับญี่ปุ่นมากขึ้น และได้แสดงท่าทีต่อชนชั้นนำในดินแดนที่เป็นอาณานิคมของตนว่าจะคืนและปลด ปล่อยอิสรภาพแก่ดินแดนดังกล่าว โดยเฉพาะดินแดนที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เช่น มลายู พม่า เป็นต้น ประเทศไทยซึ่งเป็นศัตรูกับพันธมิตร จึงถูกหมายตาจากอังกฤษและฝรั่งเศสที่คิดจะเฉือนดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของ ประเทศไทยให้แยกออกจากราชอาณาจักรไทยภายหลังสงครามสงบในฐานะที่เป็นประเทศ พ่ายแพ้สงครามเช่นเดียวกับญี่ปุ่น

เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน เข้าใจและล่วงรู้สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคนี้ในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้อย่างถ่องแท้ ย่อมไม่ปล่อยโอกาศให้ดินแดนปาตานีซึ่งเป็นดินแดนแผ่นดินเกิดของตนและ บรรพบุรุษต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจรัฐไทยอีกต่อไป ดังนั้นในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพาท่านผู้นี้ได้เล็ดลอดเดินทางไปถึง อินเดียของอังกฤษ เสรีไทยคนหนึ่งได้เล่าให้หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม( นายปรีดี พนมยงค์ ( หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ) ฟังว่า ที่กรุงเดลฮีมีชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งเลี้ยงเป็นเกียรติแก่เต็งกูมูมะห์มุด มูไฮยิดดิน และดื่มให้พรว่า ” Long Live The King Of Patani ” ( ขอให้กษัตริย์แห่งปาตานีจงทรงพระเจริญ ) ( จาก ปรีดีสาร ทัศนะของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ต่อปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ) นอกจากนั้น นายพร้อม ชูแข อดีตนายอำเภอเมืองปัตตานี ซึ่งเคยพบและพูดคุยกับเต็งกูมะห์มุด ฯ ที่กลันตันเมื่อ พ.ศ. 2491 ได้ให้ข้อมูลว่า ” ผมเคยไปพบตนกูมะไฮยิดดิน ท่านบอกว่าท่านเสียใจที่ทำให้ 4 จังหวัดปกครองตนเองไม่ได้ อังกฤษมันสัญญามากมายตอนสงครามโลกแต่ไปๆมาๆ ทำไม่ได้สักอย่าง ก็เลยตั้งขบวนการให้หะยีสุหลงรับดำเนินการใน 4 จังหวัด…) ( จากวิทยานิพนธ์ส่วนหนึ่งของ นายเฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร )

จาก การที่ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งในกรุงเดลฮี ประเทศอินเดียจัดงานเลี้ยงเป็นเกียรติและเปล่งคำอวยพรแก่เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดิน ทำเสมือนหนึ่งเป็นกษัตริย์แห่งปาตานี และจากการให้ข้อมูลของนายพร้อม ชูแข อดีตนายอำเภอเมืองปัตตานีที่ได้พบกับเต็งกูมะห์มุดฯ เรื่องไม่พอใจอังกฤษที่ไม่ปฏิบัติคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในช่วงสงครามมหา เอเซียบูรพาว่าจะใช้อำนาจในฐานะฝ่ายชนะสงครามบังคับให้ไทยปล่อยจังหวัด ชายแดนใต้ให้เป็นอิสระเหมือนกับปล่อยให้ เมืองพระดะบอง เสียมราษฎร์ และ ศรีโสภณคืนแก่ฝรั่งเศษ และปล่อยรัฐเปอร์ลิส เคดาร์ กลันตัน และ ตรังกานู คืนแก่อังกฤษนั้น เท่ากับเป็นการยอมรับว่า เต็งกูมะห์มุดฯมีความหวังและมุ่งมั่นที่จะปลดปล่อยจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ พ้นจากอำนาจของรัฐไทย เมื่อผิดหวังจากอังกฤษ เต็งกูมะห์มุดฯจึงใช้แผนปฏิบัติการภายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการประสานงานร่วมมือกับนายอดุลย์ ณ สายบุรี ( ตนกูอับดุลยาลาล นาเซร์ )อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส และ ตนกูปัตตารอ นาเซร์ สองพี่น้องบุตรอดีตเจ้าเมืองสายบุรีและทางสายศาสนาได้ประสานงานร่วมมือกับต วนกูรูหะยีสุหลง อับดุลกอเดร์โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียง บารมีมีผู้คนเคารพนับถือมาก และมีบทบาทสูงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนั้น

เนื่องจาก นายอดุลย์ ณ สายบุรี และ ตนกูปัตตารอ นาเซ์ ไม่พอใจกับนโยบายวัฒนธรรมชาตินิยมไทยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่ข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานีรับไปปฏิบัติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นายอดุลย์ฯ จึงทำหนังสือร้องเรียนต่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2487 ให้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวมลายูที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายด้านวัฒนธรรม ของรัฐบาลไทยที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวมลายูในเรื่องอัตตลักษณ์ วิถีชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ก็ล้มเหลว รัฐบาลไม่ได้สนองตอบตามคำร้องเรียนแม้แต่น้อย

อย่างไรก็ตาม นายอดุลย์ ณ สายบุรี และ ตนกูปัตตารอ นาเซร์ ไม่ละความพยายาม จึงเดินทางไปรัฐกลันตัน สำหรับนายอดุลย์ฯได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคม อังกฤษผ่านแม่ทัพอังกฤษเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2488 โดยกล่าวถึงความทุกษ์ยากลำบากของชาวมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังอ้างถึงการตัดสินใจของที่ประชุมที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ขอร้องให้ชาติพัธมิตรให้ช่วยเหลือและปลดปล่อยชาวมลายูให้พ้นจากเงื้อมมือของ ประเทศไทย( จากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของ นายเฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร ) ด้วยบทบาทการเคลื่อนไหวของ นายอดุลย์ฯดังกล่าวทำให้สายลับทางการไทยรายงานให้หน่วยเหนือทราบและได้ ติดตามพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวของ นายอดุลย์ฯตลอดเวลา ทำให้นายอดุลย์ฯเกรงความไม่ปลอดภัยในชีวิตและเสรีภาพ จึงได้หลบหนีลี้ภัยไปอยู่อำเภอปาเสปูเต๊ะ รัฐกลันตัน ภายหลังจาก เต็งกูมะห์มุด มูไฮยิดดินถึงแก่กรรมแล้ว จึงรับช่วงเป็นผู้นำชาวมลายูปาตานีต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพดินแดนปาตานีคืน จากอำนาจรัฐไทย โดยก่อตั้งขบวนการแนวร่วมกู้ชาติมลายูปาตานี ( BNPP – Barissan National Pembebasan Malayu Patani ) มีกองกำลังต่อสู้ด้วยอาวุธหลายกลุ่มในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส และ ยะลา อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายเป๊าะเยะ ( Bapa Idris ) ผู้โด่งดังที่ได้รับสมญานามว่า เจ้าพ่อแห่งขุนเขาบูโดในยุค 40 ปี ที่ผ่านมา

ในส่วนด้านการเคลื่อนไหวของผู้นำศาสนาโดยการนำของตวนกูรูหะยีสุหลง อับดุลกอเดร์โต๊ะมีนา ได้รวบรวมบรรดาผู้นำศาสนาทั้งสายมัสยิดและปอเนาะ เคลื่อนไหวเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากรัฐบาลไทยตั้งแต่รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จนถึงสมัยรัฐบาลหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่อยู่ใต้อาณัติของหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและผู้นำขบวนการเสรีไทยในช่วงหลังสงครามมหาเอเซีย บูรพา ตวนกูรูหะยีสุหลงฯเริ่มดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลแยกศาลศาสนาอิสลามที่ พิจารณาคดีครอบครัวมรดกออกเป็นอิสระจากศาลยุติธรรม

แต่ข้อเสนอและเรียกร้องให้แยกศาลศาสนาอิสลามออกจากศาลยุติธรรมของตวนกูรูหะยีสุ หลงฯไม่ลงรอยและเป็นเอกภาพในหมู่ผู้นำศาสนาใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะคราวประชุมผู้นำศาสนาอิสลาม 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 กรกฎคม 2489 ตัวแทนผู้นำศาสนาอิสลามจากจังหวัดสตูลได้แก่ นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ไม่เห็นด้วยที่จะแยกศาลศาสนาอิสลามออกจากศาลยุติธรรม จึงถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติ แต่มีข้อสรุปให้ต่างฝ่ายต่างทำคำชี้แจงไปยังรัฐบาลสำหรับ นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ ได้ขึ้นกรุงเทพฯไปรายงานต่อ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายปรีดี ฯ เห็นด้วยกับแนวทางของ นายเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ หลังจากนั้นวันที่ 19 พฤศจิกายน 2489 รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกใน 4 จังหวัดชายแดนภาดใต้

พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาพิจารณาคดีข้อ พิพาทเรื่องครอบครัวมรดกที่คู่กรณีเป็นมุสลิมมีภูมิลำเนาและทรัพย์พิพาทอยู่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ สตูล โดย ดะโต็ะยุติธรรมมีหน้าที่ให้ความเห็นในข้อกฎหมายอิสลามเท่านั้น อำนาจในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงและตัดสินคดีเป็นของผู้พิพากษาฝ่ายเดียว จึงจัดได้ว่าเป็นกฎหมายหัวมงกุฎท้ายมังกรดีๆนั่นเอง