สิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Self-Determination) ของประชาชนผู้ถูกเหยียบย่ำ?

หลักสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (the rights of self – determination) คือหลักที่ว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง คือ สิทธิของประชาชนในการมีอิสระที่จะตัดสินใจเลือกสถานะทางการเมืองของตนเองและ กำหนดรูปแบบของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพวกเขาเอง

(ในวงเล็บว่า ในความเป็นจริง ชะตาชีวิตของมนุษย์แต่ละคนก็ต้องการแตกต่างหลากหลายกันไป ดังนั้น ถ้าทุกคนเรียกร้องกันหมดก็คงยุ่งแย่ๆ เพราะงั้นในทางปฏิบัติ หลักสิทธิดังกล่าวจึงเกี่ยวโยงถึงการมีระบอบการปกครองและรูปแบบความสัมพันธ์ ภายในรัฐที่เปิดกว้างให้ประชาชนแต่ละคนสามารถสะท้อนหรือแสดงออกซึ่งชะตา ชีวิตในฝันของตนได้ ตลอดจนมีกระบวนวิธีที่เสมอภาค เป็นธรรม ในการรวบรวมความหวัง ความฝันของสมาชิกที่แตกต่างหลากหลาย [ซึ่งบางความฝันอาจไม่สมหวังเพราะถูกกันออก] มาเป็นแนวนโยบายของรัฐ)

รากฐานความคิดเบื้องหลังหลักสิทธิในการกำหนดใจตนเอง คือ ความคิดที่ว่ามนุษย์กำเนิดมาโดยเสรี ศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับว่าพวกเขามีอิสระในการปกครอง ชีวิตตนเองหรือไม่

การกำหนดใจตนเองของประชาชนทำได้โดยมีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ

สิทธิในการกำหนดใจตนเองของประชาชนได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งหากสืบย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์จะเห็นว่า สิทธิในเรื่องดังกล่าวเป็นหลักการที่มีมาก่อนหน้าการจัดตั้งองค์การ สหประชาชาติเสียด้วยซ้ำไป กล่าวคือ มันพัฒนาขึ้นจากฐานความคิดว่าประชาชนควรมีอิสระในการตัดสินใจเลือกทิศทางและ ชะตาชีวิตทางการเมืองของตนเอง ซึ่งในระยะแรก ปฏิบัติการของหลักการนี้ก่อตัวขึ้นมาในรูปของขบวนการกู้เอกราช ปลดปล่อยอาณานิคมจากจักรวรรดิต่างๆ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ประธานาธิบดีวูดโรล์ วิลสัน ของสหรัฐอเมริกาก็ได้ยึดหลักแนวคิดดังกล่าวในการสร้างสันติภาพหลังสงครามโดย กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาเชื่อมั่นใน “สิทธิของปวงชนทุกคนในอันที่จะเลือกว่าจะจงรักภักดีผู้ใด และในอันที่จะเลือกว่าตนควรมีอิสระไม่อยู่ในบัญชาของผู้ใด”

ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลักกำหนดใจตนเองได้พัฒนาไปเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์ อักษรหลายฉบับ ทั้งในกฎบัตรสหประชาชาติ, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ในทางปฏิบัตินับจากช่วงระยะนี้ หลักกำหนดใจตนเองได้ถูกตีความให้มีขอบเขตที่กว้างกว่าการใช้สิทธิกำหนดใจ ตนเองเพื่อปลดปล่อยอาณานิคมเพียงอย่างเดียว ไปสู่การใช้สิทธิดังกล่าวในเรื่อง/มูลเหตุอื่นๆ อาทิ การที่กลุ่มชนมีสิทธิกำหนดใจตนเองในการกำหนดทิศทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตนเอง เป็นต้น

ที่สำคัญคือ การผนวกรวมเอาสิทธิในการกำหนดใจตนเองของประชาชนเข้าไว้ในกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the International Covenant on Human Rights) และปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ (the Vienna Declaration and Programme of Action) เป็นการเน้นย้ำอย่างชัดเจนว่า สิทธิกำหนดใจตนเองของประชาชนเป็นส่วนองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในกฎหมายว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีผลใช้ทั่วโลกอย่างเป็นสากล และยังเป็นการยืนยันว่าการปฏิบัติตามหลักสิทธิกำหนดใจตนเอง คือ เงื่อนไขขั้นพื้นฐานสำหรับหลักสิทธิมนุษยชนข้ออื่นๆ

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลักการว่าด้วยสิทธิของประชาชนในการกำหนดใจตนเองได้ดำรงอยู่ในหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน และมีพัฒนาการขึ้นตามลำดับ จากเดิมที่อยู่ในรูปของจารีตระหว่างประเทศ ก็พัฒนามาเป็นกฎบัตร กติกาที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดทั้งได้รับการตีความครอบคลุมไปสู่การปกป้องประชาชนในประเด็นที่กว้าง ขวางมากขึ้นกว่าการใช้ในเรื่องการปลดปล่อยอาณานิคมเพียงอย่างเดียว

“อาณานิคมภายใน” กับการใช้สิทธิกำหนดใจตนเอง

กระนั้นก็ดี เมื่อเราพิจารณาในประเด็นของการที่ประชาชนนำสิทธิในการกำหนดใจตนเองมาใช้ เป็นหลักการปลดปล่อยดินแดนตนเองจากการเป็น “อาณานิคม” ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ก็จำต้องตระหนักด้วยว่า ในสภาพข้อเท็จจริง ประชาชนในดินแดนหลายแห่งแม้มิได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิใด แต่ก็ถูกปกครองเสมือนว่าเป็น “อาณานิคมภายใน” ของศูนย์กลางอำนาจ

เสียงทางการเมืองของพวกเขาเหล่านั้น ไม่เท่ากับเสียงของคนอีกบางกลุ่ม

เสียง ของพวกเขามีค่าเป็นแค่ “เสียง” (phôné) ที่ไม่ต่างจากเสียงร้องของสัตว์ซึ่งไร้ความหมายในเชิงสื่อสาร เพราะคนอีกกลุ่มไม่ยอมรับความเป็นไปได้และความสามารถในการพูด (speech) ของพวกเขา

เหตุผล ความปรารถนา ความฝัน ความหวังของพวกเขาถูกเพิกเฉย ด้วยถูกตีค่าว่าเป็นความเห็นแก่ตัว

การแสดงออกทางการเมืองของพวกเขาถูกจัดว่าเป็นความเขลา

เหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งตอกย้ำว่า พวกเขา คือ ส่วนผิดพลาดของระบบ (the Wrong)

พวกเขา คือ ส่วนที่ไม่ถูกนับให้รวมส่วนของสังคมการเมืองนี้ (the Uncount)

พวกเขา จึงเป็นเสมือนคนที่อยู่ในอาณานิคม .. ภายในประเทศตนเอง

พวกเขา จึงควรค่าต่อการใช้สิทธิในการกำหนดใจตนเอง


ด้วย เหตุนี้ เวลากล่าวถึงสิทธิของประชาชนในการกำหนดใจตนเองเพื่อให้เขาสามารถสถาปนาเส้น ทางชีวิตและชะตากรรมของพวกตนให้สมกับศักดิ์ศรีที่มนุษย์ผู้หนึ่งพึงมี เราจึงไม่ควรโฟกัสไปเฉพาะปฏิบัติการของกลุ่มชนพื้นเมือง ขบวนการกู้เอกราช เมืองขึ้นของจักรวรรดิ หรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มชนชาติ กลุ่มศาสนา กลุ่มอัตลักษณ์ที่ถูกกดทับเท่านั้น หากแต่สิทธิในการกำหนดใจตนเองควรที่จะต้องเป็นของเหล่าประชาชนที่ถูกกด ทับทางการเมืองด้วย

บรรดา ประชาชนที่แม้จะไม่ได้มีความแตกต่างทางชนชาติ ศาสนากับพวกอภิสิทธิ์ชนที่ศูนย์กลางอำนาจรัฐ และแม้ไม่ถือว่าเป็นชนพื้นเมืองตามนัยที่เคยเกิดขึ้นในการนำหลักการข้อนี้มา ใช้ ก็สมควรจะมีสิทธิใช้หลักการกำหนดใจตนเองเป็นหลักต่อสู้เพื่อทวงศักดิ์ศรีและ คุณค่าของตนคืนจาก “จักรวรรดินิยมภายใน” รัฐที่เขาอยู่ ได้ด้วยเช่นกัน

ปฏิบัติ การดังกล่าว ก็คือ สิ่งสะท้อนถึงการเรียกร้องความเสมอภาคที่ถูกบิดเบือน ความเท่าเทียมที่ถูกกดทับอยู่ภายใต้โครงสร้างการใช้อำนาจที่เลือกปฏิบัติ

ปฏิบัติ การเช่นนี้ คือ สิ่งสะท้อนอัตลักษณ์เฉพาะที่พวกเขาเป็น อันแตกต่างไปจากอัตลักษณ์ของพวกอภิสิทธิ์ชนผู้ได้เปรียบในโครงสร้างอำนาจ เดิม นั่นคือ อัตลักษณ์ความเป็นประชาธิปไตย   

สิทธิในการกำหนดใจตนเอง (ยัง)ไม่เท่ากับ การแบ่งแยกดินแดน

การเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเองของประชาชน อาจจะเกี่ยวโยงไปสู่การแบ่งแยกดินแดนหรือไม่ก็ได้ กล่าวคือ

ใน ชั้นแรก สิทธิในการกำหนดใจตนเองเป็นเรื่องหลักการภายใต้กรอบของรัฐโดยปกติ หมายถึง สิทธิของประชาชนในการกำหนดทิศทางการเมืองของพวกเขาเองได้ผ่านวิถีทาง ประชาธิปไตย ทั้งในแง่ของการเลือกรัฐบาล เลือกผู้แทนของตนอย่างอิสระโดยมีเสรีภาพในการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือ พรรคต่างๆ และรวมถึงสิทธิของประชากรทุกส่วนในการเข้าไปมีส่วนร่วมมีอิทธิพลต่อ โครงสร้างสถาบันการเมืองของรัฐตนเอง

พูด อย่างง่าย คือ สิทธิในการกำหนดใจตนเองจะเป็นเรื่องภายในกรอบของรัฐอยู่ ตราบเท่าที่คุณสามารถไปเลือกตั้งแล้วไม่เจอใครขัดขวาง คุณสามารถแสดงออกทางการเมืองแล้วไม่โดนเป่านกหวีดไล่หรือรุมกระทืบ คุณสามารถเข้าร่วมการชุมนุมได้โดยไม่โดนไล่สังหารด้วยกองกำลังมืออาชีพ คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศชาติของคุณเองได้โดยไม่โดนเพื่อน ร่วมชาติสบถด่าทอหรือจับมาสอบสวน ฯลฯ

ตราบ เท่าที่เรื่องทำนองนี้ยังทำได้ นั่นก็ยังนับว่า สิทธิในการกำหนดใจตนเองได้ดำรงอยู่ แต่ตราบใดที่เรื่องทำนองนี้ทำไม่ได้ นั่นก็หมายความว่า คุณไม่มีสิทธิในการกำหนดใจตนเอง และจำต้องสถาปนามันขึ้นใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อฟื้นคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉวยชิงไปเหยียบย่ำ เพื่อทวงถามความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่คุณมีไม่ได้น้อยไปกว่าคนอีกฝ่าย

.. รวมถึงคุณมีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตทางการเมือง สถานะทางการเมืองในรูปแบบใหม่ ที่มันรับรองการดำรงอยู่ของศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของพวกคุณอย่างเสมอ ภาค

ถ้า ตีความจากความหมายของคำว่า “สิทธิในการกำหนดใจตนเอง” ตามความข้างต้นออกไปอย่างกว้าง จะเห็นว่ารูปแบบของการสถาปนาสิทธิดังกล่าวขึ้นใหม่ในเหล่าประชาชนผู้ถูก กดขี่ อาจไม่จำเป็นต้องหมายถึงการแบ่งแยกดินแดนเสมอไป แต่อาจเป็นการเคลื่อนไหวโดยคาดหวังต่อผลลัพธ์ได้หลายรูปแบบ อาทิ การเรียกร้องการปกครองตนเองรูปแบบพิเศษที่มุ่งถ่ายโอนภารกิจและแบ่งปันอำนาจ จากศูนย์กลางอำนาจที่ไม่เห็นหัวใครให้กระจายไปยังดินแดนอาณานิคมภายในส่วน ต่างๆ มากขึ้น เป็นต้น

ใน ความเห็นส่วนตัว ไม่ว่าจะใช้สิทธิในการกำหนดใจตนเองเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ในรูปแบบใดก็ตาม ต่างก็จำต้องให้น้ำหนักกับการกำหนดมาตรการเรียกร้องกดดันประชาคมระหว่าง ประเทศและองค์การระหว่างประเทศให้สนับสนุนอย่างแข็งขันด้วย เพราะหากว่ามันต้องไปจนสุดทาง ประวัติศาสตร์บอกว่า ความสำเร็จของการเคลื่อนไหวจะเป็นไปได้สูงถ้าได้รับการตอบสนองจากประชาคม ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะให้การยอมรับ/รับรองสิทธิกำหนดใจตนเองของกลุ่มประชาชนผู้ถูกกดขี่

แน่นอน ว่าการแบ่งแยกดินแดนก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียกร้องสิทธิกำหนดใจตนเองเช่น กัน 
แต่ไม่ใช่ทางเลือกเดียวและทางเลือกที่จำเป็นสำหรับการสถาปนาสิทธิในการ กำหนดใจตนเองของประชาชน 
ซึ่งหากจะว่ากันในเรื่องนี้ มันก็จะต้องอภิปรายเชื่อมโยงกับอีกหัวข้อหนึ่งของหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ว่าด้วยสิทธิของการแยกตัว (Right to Secession) ที่ผมเห็นว่า เราไม่มีความจำเป็นนักที่จะต้องอภิปรายกันไปไกลถึงเพียงนั้น ..
..
..
..
..
..
..
..
..
.. หรอกมั้ง