Drone Attacks: ปฏิบัติการทางทหารหรืออาชญากรรมสงครามในโลกมุสลิม (2)

ปฏิบัติการโดรนกับความสูญเสียในปากีสถาน

นับตั้งแต่สหรัฐฯประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในปีค.ศ. 2001 อันมีปากีสถานเป็นพันธมิตรหลักสหรัฐฯพยายามกดดันปากีสถานทุกวิถีทางให้ กวาดล้างกลุ่มติดอาวุธในประเทศโดยให้การสนับสนุนปากีสถานทั้งการเงินการทหาร และค้ำจุนรัฐบาลปากีสถานมาโดยตลอด (สมัยพลเอกมุชาร์ราฟ)  ที่สำคัญสหรัฐฯยังได้เข้าไปปฏิบัติการทางทหารในปากีสถานผ่านฐานทัพของตัวเอง ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนอัฟกานิสถานจนทำให้สถานการณ์ในปากีสถานลุกเป็นไฟและ มีประชาชนบริสุทธิ์จำนวนหลายพันคนเสียชีวิตโดยเฉพาะจากการโจมตีทางอากาศ

Rehman Malik รัฐมนตรีมหาดไทยของปากีสถานยืนยันว่านับตั้งแต่มีการโจมตีจนถึงกันยายนปี 2012 มีการโจมตีด้วยโดรนถึง  336 ครั้งมีผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 2,500 – 3,000 คนส่วนใหญ่กว่า 80%  เป็นพลเรือนในจำนวนนี้ 174 คนเป็นเด็กมีเพียง 2 % เท่านั้นที่เป็นแกนนำระดับสูงส่วนข้อมูลจาก Drone Team รายงานณวันที่ 3 มกราคมค.ศ.2103 จำนวนผู้เสียชีวิตตั้งแต่ปีค.ศ.2004 – 2013 อยู่ที่ประมาณ 2629 – 3461 คน

โดรนกับสิทธิมนุษยชนในปากีสถาน

ในรายงาน “Living Under Drones ของ Stanford University และ New York University’s School of Law ได้นำเสนอข้อมูลผลกระทบจากปฏิบัติการของโดรนจากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ ชนเผ่าที่ถูกโจมตีโดยสรุปเป็นข้อดังนี้

  • ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กๆไปโรงเรียนเนื่องจากกลัวว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อีกทั้งยังกระทบรายได้และทำให้ไม่สามารถส่งบุตรหลานเรียนต่อได้
  • มีปรากฏหลักฐานสำคัญว่ามีการโจมตีในลักษณะของโจมตีซ้ำ (double-tap strikes) ทำให้ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือในที่เกิดเหตุได้รับบาดเจ็บ
  • ชุมชนมีความหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลาเมื่อเห็นโดรนบินอยู่เหนือท้องฟ้า
  • การ โจมตีส่งผลให้พลเรือนเสียชีวิตและทรัพย์สิน  ระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบตลอดจนความทุกข์ทรมานของผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติ ผู้เสียชีวิต
  • ประชาชนกลัวจนไม่กล้ารวมตัวกันในงานต่างๆเช่นพิธีฝั่งศพเพราะกลัวถูกโจมตี

มีนักทำงานด้านมนุษยธรรมคนหนึ่งของสหรัฐได้เปรียบเทียบระดับความหวาดกลัวต่อ การถูกโจมตีทางอากาศของประชาชนชาวปากีสถานในพื้นที่วาซิริสถาน (Waziristan) ว่าไม่ต่างจากความหวาดกลัวของคนในนิวยอร์กหลังเหตุการณ์ 9/11

จากข้อมูลหลักฐานต่างๆทำให้เห็นชัดว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในปากีสถานจาก ปฏิบัติการของสหรัฐอดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถานนายยูซุฟราซากิลานีได้เคยกล่าว กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำสหประชาชาติว่า “ปฏิบัติการโดรนของสหรัฐในปากีสถานนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพราะทำให้ ประชาชนผู้บริสุทธิ์สตรีและเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องต้องเสียชีวิต” และเรียกร้องให้สหรัฐหยุดกระทำดังกล่าวที่เป็นการละเมิดอธิปไตยของประเทศแต่ กลาโหมของสหรัฐกลับแสดงที่ท่าตรงกันข้ามโดยย้ำชัดว่าไม่ว่าปากีสถานจะร้องขอ อย่างไรสหรัฐก็จะไม่หยุดการปฏิบัติการ

การต่อต้านโดรนในปากีสถาน

การเคลื่อนไหวต่อต้านปฏิบัติการโดรนของสหรัฐในปากีสถานเกิดขึ้นเป็นระยะๆพร้อม กับข้อเรียกร้องให้รัฐบาลอิสลามาบัดตัดความสัมพันธ์กับสหรัฐแต่ที่น่าสนใจไป กว่านั้นคือนอกจากกลุ่มมวลชนในปากีสถานแล้วยังมีกลุ่มคนในสหรัฐอเมริกาเอง ที่ต่อต้านและเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวคัดค้านไปพร้อมๆกับมวลชนปากีสถานโดยกลุ่ม ผู้ประท้วงอเมริกันมี 2 กลุ่มหลักโดยกลุ่มแรกใช้ชื่อเรียกตัวเองว่า “Code pink”  เป็นกลุ่มต่อต้านสงครามของสหรัฐซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงชาวอเมริกัน ทำการประท้วงทั้งในอเมริกาและปากีสถาน  ส่วนอีกกลุ่มใช้ชื่อว่า “Christian Peace”กลุ่มนี้เคยชุมนุมประท้วงที่หน้าสำนักงานใหญ่ของ CIA เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2556 โดยมีเป้าหมายต้องการให้อเมริกายุติการใช้โดรนโจมตีประเทศต่างๆ

ใน ปลายปี 2012 กลุ่ม Code Pink 35 คนจากสหรัฐได้เดินทางมายังปากีสถานเพื่อเข้าร่วมไปกับขบวนประท้วงต่อต้าน ปฏิบัติการโดรนโดยนาง Medea Benjamin ผู้ก่อตั้ง Code Pink กล่าวถึงความรู้สึกต่อปฏิบัติการของสหรัฐในปากีสถานไว้อย่างน่าสนใจว่า

“ พวกเราในนามของอเมริกันชนที่มีสำนึกผิดชอบชั่วดีมาที่นี้เพื่อที่จะบอกกับประชาชนชาวปากีสถานว่าพวกเราขอโทษต่อการสูญเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น”

แนวโน้มของปัญหาการใช้โดรน

ภายใต้แนวโน้มของปัญหาและผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือนบริสุทธิ์จาก ปฏิบัติการโดรน  ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความชอบธรรมมากขึ้นโดย เฉพาะในแง่กฎหมายระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งจะเห็นได้จาก รายงานของ Christof Heyns ผู้เสนอรายงานพิเศษของยูเอ็นว่าด้วยการก่อการร้ายและการฆ่านอกกระบวนการ ยุติธรรมได้ตั้งข้อสังเกตถึงการใช้โดรนในรายงานเดือนมิถุนายน 2012 ว่า “หลายประเทศได้กำหนดเป้าโจมตีตามใจชอบซึ่งอาจทำให้ประเทศอื่นๆประพฤติใน ลักษณะเดียวกันในอนาคต” และระบุว่า “การโจมตีของสหรัฐในปากีสถานเยเมนและที่อื่นๆจะทำให้นานาประเทศไม่เคารพต่อ หลักสิทธิมนุษยชนที่มีมาอย่างยาวนาน” เมื่อเป็นเช่นนี้โจทย์ใหญ่คือสหรัฐพร้อมที่จะให้อิสระกับปฏิบัติการโจมตีของ โดรนกับประเทศเหล่านั้นหรือไม่เมื่อประเทศอื่นๆประสบความสำเร็จในการพัฒนา เทคโนโลยีนี้

ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายของการโจมตีที่ผ่านมา Heyns มองว่าค่อนข้างขาดความชอบธรรมทางกฎหมายโดยจะเห็นว่า “การโจมตีในบางพื้นที่อาจชอบด้วยกฎหมาย (สหรัฐ) ในพื้นที่ที่ถูกจัดเป็นเขตสู้รบ (อย่างอัฟกานิสถาน) แต่ในพื้นที่อื่นไม่ใช่เพราะไม่ได้จัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน” แต่เขายืนยันว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในลักษณะของการโจมตีซ้ำในระหว่างที่ หน่วยให้ความช่วยเหลือกำลังเข้าช่วยเหยื่อคือ “อาชญากรรมสงคราม”  ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปากีสถาน

ในประเด็นการสร้างความชอบธรรมสหรัฐอ้างเหตุผลของการพุ่งเป้าโจมตีกลุ่มอัลกอ อิดะห์และเครือข่ายว่าเป็นการตอบโต้เหตุการณ์ 9/11 แต่ Heyns มองว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะอ้างเหตุผลเดิมเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการ สังหารชีวิตผู้คนในที่อื่นๆแต่บางประเทศกลับสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาภายหลัง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับปฏิบัติการดังกล่าว  นอกจากนี้เขายังแสดงความกังวลเป็นพิเศษกับประเด็นการเลือกกลุ่มเป้าหมายของ การโจมตีที่กำหนดโดยหน่วยข่าวกรอง CIA และอนุมัติโดยประธานาธิบดีนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถตรวจสอบได้พร้อม ทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐให้ความกระจ่างชัดถึงขั้นตอนของปฏิบัติการโจมตี เป้าหมายที่ยืนยันได้ว่าไม่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศและชี้ให้เห็นถึงมาตรการหรือยุทธศาสตร์ที่สามารถป้องกันการ เสียชีวิตและการบาดเจ็บตลอดจนมาตรการที่ชัดเจนซึ่งเปิดโอกาสให้หน่วยงาน อิสระสามารถตรวจสอบได้ทันทีโดยละเอียดในกรณีที่พบว่าอาจมีการละเมิดหลักดัง กล่าว

ในประเด็นการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน Ben Emmerson ผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการต่อต้านการก่อการร้ายกล่าว ว่าการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐได้ก่อให้เกิดปัญหารากฐานที่สำคัญซึ่ง เกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่รับผิดชอบของข้าพเจ้า…. ถ้าพวกเขาไม่ตรวจสอบตัวเองิ(สหรัฐ) เราจะเข้าไปตรวจสอบให้” ยิ่งไปกว่านั้น Emmerson ถึงกับกล่าวอย่างหนักแน่นและน่าสนใจซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไปถึงรัฐบาลสหรัฐ อย่างตรงไปตรงมาว่า “มันหมดเวลาแล้วที่ต้องยุติ “การสบคบคิดกันปกปิด” (conspiracy of silence) ต่อกรณีการโจมตีของโดรนและเปิดให้มีการตรวจสอบกระบวนการอย่างอิสระ…ไม่ เฉพาะต่อกรณีการสังหารเท่านั้นแต่รวมไปถึงการตรวจสอบในระบบกฎหมายระหว่าง ประเทศด้วย”

กระแสการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการใช้โดรนเริ่มปรากฏมากขึ้นและเป็นรูปธรรมขึ้น มาเมื่อมีการแสดงความกังวลของประเทศสมาชิกยูเอ็นโดยเฉพาะประเทศที่ถูกโจมตี อย่างปากีสถานที่ได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการอีกทั้งยังมีประเทศสมาชิกสภาค วามมั่นคงของยูเอ็นอีก 2 ประเทศร่วมเรียกร้องด้วยซึ่งแม้จะไม่เปิดเผยว่าเป็นประเทศใดแต่ก็คาดกันว่า คือจีนกับรัสเซียเนื่องจากประเทศที่เหลือต่างเป็นพันธมิตรของสหรัฐนอกจากนี้ นาย Ban Ki-moon เลขาธิการสหประชาชาติและ Navi Pillay ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนก็แสดงความกังวลต่อประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก ปฏิกิริยาดังกล่าวจึงนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่ได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างเป็น รูปธรรมตั้งแต่ต้นปี 2013

การตรวจสอบที่กำลังดำเนินอยู่จึงเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งโดย เฉพาะในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติที่สำคัญคือบรรทัดฐาน สากลกับอิทธิพลของมหาอำนาจที่อาจเป็นตัวกำหนดแนวโน้มสถานการณ์ความรุนแรงในอนาคต