ปัจจุบัน อิหร่านได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่และผงาดขึ้นเป็นประเทศที่ กล้าเปิดโปงความจริงหลายๆเรื่องเกี่ยวกับชาติมหาอำนาจและถือว่าเป็นประเทศ ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับกลุ่มประเทศมหาอำนาจอย่างง่าย ๆโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกบางประเทศที่ทำตัวเป็นนักสร้างสันติภาพ แก่ชาวโลก หรือทำตัวเป็นตำรวจโลกที่จะเข้าไปจับผิดประเทศต่างๆ
ในขณะเดียวกันอิหร่าน ก็มิได้แสดงท่าทีแข็งขืนกับเวทีนานาชาติกับนานาประเทศ อิหร่านแสดงท่าทีอย่างชัดเจนในเวทีโลก ว่าสร้างโรงงานนิวเคลียร์เพื่อเตรียมชดเชยแหล่งพลังงานจากน้ำมัน ซึ่งนั่นคือเป้าหมายเดิมที่อิหร่านยืนยันมาตลอดว่า เป็นพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ และอิหร่านกำลังดำเนินการคือ สิ่งที่ถูกต้อง นั่นคือ การแสวงหาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ โดยใช้สโลแกนว่า”พลังงานนิวเคลียร์สำหรับทุกคน แต่ไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์สำหรับใครบางคน” และตลอดช่วงก่อนการถูกลงโทษทางเศรษฐกิจ อิหร่านแสดงความบริสุทธิ์ใจมาตลอดว่ามิได้แสวงหาอาวุธนิวเคลียร์และยินดีจะ เจรจาพูดคุยกับนานาประเทศและพร้อมที่จะให้องค์กรพลังงานนิวเคลียร์ (IAEA)มาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธ์ในเรื่องนี้
สหรัฐอเมริกาได้แสดง ความเป็นศัตรูและหันมาเล่นงานอิหร่านทางเศรษฐกิจแทนโดยใช้กลไกต่าง ๆ ที่มี เช่น องค์กรระหว่างประเทศ สหประชาชาติ ยุโรป ให้ร้ายอิหร่านว่าเป็น “รัฐสนับสนุนการก่อการ้าย” และกล่าวหาว่า อิหร่านพยายามแสวงหา การครอบครองอาวุธร้ายแรงและเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่นในเดือนกันยายน 2001 องค์กรจารกรรมกลางของสหรัฐรายงานว่าอิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธร้ายแรงและขอความ ช่วยเหลือจากจีนและรัสเซีย และในเดือนตุลาคม 2007 สหรัฐเพิ่มมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจ ต่ออิหร่านในข้อหา “ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย” และพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานอันชัดแจ้งหรือเป็นที่ยืนยัน แต่เป็นเพียงข้อกล่าวหาและการสงสัยเพื่อเป็นข้ออ้างในการรังแกอิหร่าน แต่ทว่ากลับกันในขณะที่สหรัฐอเมริกาและอิสราเอลต่างมีอาวุธร้ายแรงไว้ข่มขู่ ประเทศเล็ก ๆ ในตะวันออกกลาง แม้แต่ สหรัฐอเมริกาเองก็เคยใช้อาวุธนิวเคลียร์มาแล้วที่ญี่ปุ่นและเอกสารลับเผยว่า มีการเตรียมการใช้ในสงครามเวียดนาม และเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ยังสนับสนุนให้อิหร่านสร้างโรงงานนิวเคลียร์เพื่อเตรียมชดเชยแหล่งพลังงาน จากน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งนั่นคือเป้าหมายเดิมที่อิหร่านยืนยันมาตลอดว่า เป็นพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
นางฮิลลารี คลินตัน ได้ออกหนังสือพ๊อกเค๊ดบุคชื่อ”Hard Choices by Hillary Clinton”ได้วิจารณ์อิหร่านและพูดถึงปัญหาและอุปสรรคของการไม่บรรลุการเจรจา ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านว่าเนื่องจากความกร้าวและความไม่มีบุคลิกการประณี ประณอมของอิหร่านและความไม่จริงใจของอิหร่านเอง เธอกล่าวว่า”ไม่มีเหตุผลเลยในการจะไว้วางใจอิหร่าน และอิหร่านจะฉวยโอกาสนี้เตะถ่วงและเบี่ยงเบนความสนใจ การเจรจาครั้งใหม่อาจกลายเป็นเหมือนเขาวงกต ที่อิหร่านจะใช้เพื่อซื้อเวลาในขณะที่เข้าใกล้เป้าหมายของการพัฒนาอาวุธ นิวเคลียร์ที่จะเป็นภัยคุมคามต่ออิสราเอล บรรดาประเทศเพื่อนบ้านและต่อโลกด้วย”
เธอกล่าวต่ออีกว่า”หาก เราอ่อนข้อให้ในครั้งนี้ ก็อาจทำลายงานที่สู้อุตส่าห์ทำมาลายปี จนสามารถสร้างฉันทามติในหมู่ประเทศต่างๆให้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรและเพิ่ม แรงกดดันอิหร่าน”
เมื่อปี พ.ศ.2553 องค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และชาติอื่นๆ ได้มีมติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอิหร่าน เพื่อต่อต้านการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ประกอบด้วย การคว่ำบาตรด้านพลังงาน การประกันภัย การขนส่ง การธนาคาร และการคว่ำบาตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมน้ำมันเป็น หลักที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอิหร่านมากที่สุด เพราะรายได้กว่าร้อยละ 80 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดมาจากการส่งออกน้ำมัน การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจส่งผลให้อิหร่านสูญเสียรายได้จากการส่งออกน้ำมันรวม ทั้งสิ้นประมาณ 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ อิหร่านยังเกิดปัญหาค่าเงินเรียลที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ ปัญหาเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 30 และปัญหาการว่างงานสูงกว่าร้อยละ 15 ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนี้ ทำให้ประชาชนอิหร่านเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่และ ให้รัฐบาลเร่งเจรจากับชาติมหาอำนาจให้ผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยเร็ว
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 อิหร่านได้บรรลุข้อตกลงชั่วคราว (Joint Plan of Action) กับสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ P5+1 (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน + เยอรมนี) ณ กรุงเจนีวาโดยข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้อิหร่านระงับการพัฒนาโครงการ นิวเคลียร์ เพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ภายใต้ข้อตกลงมีสาระสำคัญโดยสังเขป คือ
– อิหร่านจะต้องหยุดเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นเกินกว่าร้อยละ 5 (แร่ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นร้อยละ 5 เป็นระดับความเข้มข้นสำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้า) และต้องเจือจางแร่ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นเกินกว่าร้อยละ 20 (แร่ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปเป็นระดับความเข้มข้นที่อาจสามารถนำไปพัฒนาเป็นอาวุธนิวเคลียร์ได้) ที่มีอยู่ในคลังทั้งหมดของอิหร่านให้เหลือความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 5 ด้วย
– อิหร่านจะต้องไม่เปิดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์น้ำมวลหนัก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลิตกัมมันตภาพรังสีพลูโตเนียมที่ใช้ในการผลิตอาวุธ นิวเคลียร์ได้
– อิหร่านต้องให้คณะผู้สังเกตการณ์จากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (The International Atomic Energy Agency: IAEA) เข้าตรวจสอบโรงงานนิวเคลียร์นาทานซ์ที่เมืองนาทานซ์ (Natanz) และโรงงานนิวเคลียร์ฟอร์โดที่อยู่ใกล้กับเมืองกุม (Qom) นับตั้งแต่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้
– กลุ่มประเทศ P5+1 จะผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรและจะไม่เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรใดๆ เป็นระยะเวลา 6 เดือน หากอิหร่านปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด
– ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน อิหร่านจะได้รับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรเป็นมูลค่า7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ครอบคลุมถึงรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่ถูกอายัดไว้ที่ธนาคารในต่างประเทศ มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การระงับการคว่ำบาตรบริการประกันภัยและบริการขนส่งน้ำมันจากอิหร่าน ทองคำ โลหะมีค่า และการส่งออกยานยนต์และปิโตรเคมีของอิหร่าน
นางบารอนเนส แคทเธอรีน แอชตัน ข้าหลวงใหญ่ฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป แถลงการณ์ร่วมกับนายโมฮัมหมัด จาวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน เมื่อ 19 ก.ค. ว่าพวกเขาตัดสินใจขยายของการเจรจา ระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจโลก เรื่องโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ออกมาไปอีก 4 เดือน จนถึง 24 พ.ย. หลังจากที่ไม่สามารถเจรจาหาข้อตกลงได้ทันในวันที่ 20 ก.ค.2014
ถ้าวิเคราะห์อย่างเป็น ธรรมโดยฝักใฝ่ฝ่ายใด จะเข้าใจได้ง่ายๆเลยว่าการที่อิหร่านเข้าร่วมเจรจากับกลุ่มประเทศ P5+1 แสดงให้เห็นถึงท่าทีที่โอนอ่อนของอิหร่านที่มีต่อนานาชาติ และการบรรลุข้อตกลงชั่วคราว (Joint Plan of Action) นับว่าเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าอิหร่านมีเจตนาที่จะเจรจา และจะสานสัมพันธ์มิตรไมตรีอันดีกับนานาชาติ และเพื่อเป็นทางออกสำหรับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อิหร่านเผชิญอยู่ เนื่องจากถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลานาน แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การแสดงเจตจำนงอย่างบริสุทธิ์ของอิหร่านจะยืนยันในความชอบธรรมของโครงการ พัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติไม่ใช่เพื่อสร้างอาวุธนิวเคลียร์ และแท้จริงแล้วการกล่าวของสหรัฐอเมริกาและชาติมหาอำนาจต่ออิหร่านนั้นเป็น เพียงข้อสงสัยหนึ่ง ซึ่งยังพิสูจน์ความจริงไม่ได้เลยจนถึงวันนี้ว่าอิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ ร้ายแรงซึ่งนั่นคือเป็นเรื่องลวงโลกและมีอคติต่ออิหร่าน ต้องการจะโดดเดี่ยวอิหร่านและเป็นเกมเตะท่วงของชาติมหาอำนาจและสหรัฐอเมริกา ให้อิหร่านมีความอ่อนแอและเพื่อสกัดกั้นอิหร่าน มิให้อิหร่านผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่เข้มแข็งในตะวันออกกลาง
แต่ทว่าประชาคมโลกและ นานาประเทศต่างจับจ้องอิหร่านในสายตาของความเป็นมนุษยธรรม มองด้วยความเป็นธรรมและเป็นประจักษ์พยานว่า แท้จริงสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านกับปัญหานิวเคลียร์และการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจ ถือว่าเป็นความไม่ชอบธรรมที่ชาติมหาอำนาจได้ปฎิบัติเช่นนั้น และการดำเนินโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติเป็นสิทธิอันชอบธรรมของอิหร่าน และไม่ได้เป็นภัยคุกคามแก่ชาวโลกและแก่ภูมิภาคตะวันออกกลางเลย เพราะอิหร่านยึดหลักนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคือ”รักษาความสัมพันธ์ ต่อนานาประเทศอย่างสันติและไม่ก่อสงคราม” ซึ่งเป็นหลักสันติวิธี และเป็นหลักการอยู่ร่วมกันบนโลกใบนี้อย่างสันติสุข
อ้างอิง
-www.hamshari.ir
-www.presstv.ir
-นิตยสารวิเคราะห์การเมือง hamshari ฉบับภาษาเปอร์เซีย
-นิตยสารวิเคราะห์การเมืองรายสัปดาห์ Panjaereh weekly
-Hillary Rodham Clinton : ชีวิตและทางเลือก สุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการที่ปรึกษา
ผู้อำนวยการศูนย์อิสลามศึกษา/อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม