การเมืองพ่นพิษกดดันกำไรแบงก์วูบ

ความ ขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนมาถึงขณะนี้ร่วมเวลา 6 เดือนแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร แต่ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดเจนคือความยืดเยื้อวิกฤตการเมืองได้ส่งผลผลกระทบต่อ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างไม่ต้องสงสัย เห็นได้จากการประกอบการของธนาคารพาณิชย์ การที่การขยายตัวสินเชื่อชะลอลงส่งผลกระทบต่อผลกำไรไตรมาสแรกของธนาคารไป แล้ว

นาง รุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่าจากข้อมูลการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ซึ่งนับรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารเฉพาะกิจ(เอสเอฟไอ) ของภาครัฐ พบว่าในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของปีนี้ ยังมีอัตราการเติบโตประมาณ 4 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2556 ที่ขณะนั้นมียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 14.7 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารเฉพาะกิจ ขณะที่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากสิ้นปีที่ผ่านมา มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

“แม้ ข้อมูลสินเชื่อของธปท.เทียบสิ้น เดือนก.พ.2557 กับสิ้นเดือนก.พ.2556 จะขยายตัวเกือบ 10% แต่หากดูเฉพาะช่วง 2 เดือนแรกของปี จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของยอดสินเชื่อจากสิ้นเดือนธ.ค.2556 ถึงสิ้นเดือนก.พ.2557 สินเชื่อขยายตัวประมาณ 4 หมื่นล้านบาท จากยอดคงค้างที่ 14.7 ล้านล้านบาท ถือเป็นการขยายตัวที่ไม่ได้มากนัก คือแค่เพียง 0.3% โดยสินเชื่อเอสเอฟไอมีการขยายตัวบ้าง ส่วนสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างทรงตัว”

ข้อ มูลที่ธปท.ถึงเดือน ก.พ.ที่แจงออกมาแสดงให้เห็นถึงว่าธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังการปล่อยกู้ เพราะต้องตั้งสำรองหนี้จากคุณภาพของสินทรัพย์ที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสีย(เอ็นพีแอล) จนส่งผลกระทบของธนาคารจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง

เพราะ ยิ่ง การเมืองยังพ่นพิษอยู่นี้ยังเพิ่มแรงกดดันต่อการชะลอตัวเศรษฐกิจ จนอาจจะติดเชื้อกลายเป็นมะเร็งร้ายเกิดหนี้เสียจนก่อปัญหาลุกลาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ต้องชะลอการปล่อยสินเชื่อ จึงเห็นผลประกอบการกำไรไตรมาสแรกลดลง

ธนาคาร พาณิชย์รวม 10 แห่ง ไม่รวมธนาคารกรุงไทยได้ประกาศผลประกอบการไตรมาส1/2557 พบว่ามีกำไรสุทธิรวม 42,526 ล้านบาท ลดลง 0.83% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42,884 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อทั้งระบบมีประมาณ 7,924,522 ล้านบาท หรือโต 0.01% จากสิ้นปีที่ผ่านมา

ธ.กรุงเทพสินเชื่อธุรกิจเพื่อการลงทุนลด

ธนาคาร กรุงเทพไตรมาส 1/2557 มีกำไรสุทธิ 8,965 ล้านบาท ลดลง 0.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจเพื่อการลงทุนหรือขยายกิจการ ในขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังคงอยู่ในสัดส่วนเท่ากับสิ้นปีก่อน โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 1,745,919 ล้านบาท ลดลง 0.39% จากสิ้นปี 2556 เนื่องจากความต้องการสินเชื่อสำหรับลูกค้าธุรกิจรายใหญ่เติบโตลดลงตามภาวะ เศรษฐกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาด ย่อมและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น

“สิน เชื่อด้อยคุณภาพหรือ เอ็นพีแอลไตรมาสแรกอยู่ที่ 45,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.11% จากสิ้นปีก่อน ทำให้สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่2.2% ขณะเดียวกันธนาคารยังคงแนวทางการบริหารกิจการอย่างระมัดระวังและมีการตั้ง สำรองค่าใช้จ่ายหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสนี้ ธนาคารมีการตั้งสำรองฯ จำนวน 2,103 ล้านบาท ส่งผลให้ธนาคารมีอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อ ด้อยคุณภาพคิดเป็น 210.1%”

กสิกรไทยสินเชื่อด้อยคุณภาพส่อเพิ่ม

ส่วน ธนาคารกสิกรไทยนั้น ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 11,939 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 18.14% จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จำนวน 1,998 ล้านบาท หรือ 17.11% โดยสินเชื่อของธนาคารยังเติบโตได้ในระดับ 0.79% หรือมีพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 1,450,381 ล้านบาท สำหรับเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 2.14% จากสิ้นปี 2556 ที่อยู่ที่ระดับ 2.11% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio)เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 137.76% จากสิ้นปี 2556 อยู่ที่ระดับ 134.52%

กรุงศรีอยุธยากำไรลด18.8%

ขณะ ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ไตรมาสแรกธนาคารมีกำไรสุทธิ 3.3 พันล้านบาท ลดลง 18.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินให้สินเชื่อ หดตัว 0.4% คิดเป็นสินเชื่อที่ลดลงจำนวน 3.7 พันล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 9.4 แสนล้านบาท เป็นผลจากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงตามปัจจัยด้านฤดูกาล ซึ่งความต้องการสินเชื่อเพื่อรายย่อยจะลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี ขณะที่มีการชำระคืนของเงินทุนหมุนเวียนของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากความต้องการสินเชื่อ ที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ
ทาง ด้านเงินฝากเพิ่มขึ้น 2.2% คิดเป็นจำนวน 16.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนธันวาคม 2556 มาอยู่ที่ 7.8 แสนล้านบาท และมี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 4.22% สะท้อนการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนโครงสร้างสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนต่ำ

ธนาคาร มีสัดส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.97% เทียบกับ 2.67% ในเดือนธ.ค. 2556 ผลจากสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อรายย่อย ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่อัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังแข็งแกร่ง อยู่ที่ระดับ 134.5%
ซีไอเอ็มบีไทยหนี้เอ็นพีแอลเพิ่ม

ด้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยในไตรมาสแรกของปีธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 440.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127.7 ล้านบาท หรือ 40.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากรายได้อื่นเพิ่มขึ้น 106.0% รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 27.1% และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 23.1% ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 21.4% และสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น 120.2%

ส่วน เงินให้สินเชื่อสุทธิ อยู่ที่ 1.72 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% จากสิ้นปีก่อน และมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5.5 พันล้านบาท คิดเป็น 3.1% ของสินเชื่อรวม จากสิ้นปีก่อนที่มี 2.5% มีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกระทบลูกค้าภาคธุรกิจบางรายและต่อเนื่องสู่ รายย่อย โดยที่ผลกระทบนี้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้และไม่น่าจะกระทบในวงกว้าง

สินเชื่อลดยังไม่ส่งผลวิกฤตเศรษฐกิจ

จาก ที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)รายงานให้เห็นว่าสิน เชื่อตั้งแต่ต้นปีจนถึง ณ สิ้นเดือนก.พ.2557 ซึ่งขยายตัวใกล้ๆ10%  ถือว่ายังเป็นการเติบโตที่สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ(Nominal GDP)ไตรมาสแรกปี 2557ไว้ที่ 5.9% ยังแสดงให้เห็นว่าสินเชื่อที่ชะลอตัวลงในขณะนี้ยังไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจโดยภาพรวม

เพราะ การขยายตัวของสินเชื่อที่สูงกว่า Nominal GDP นั้น ธปท.ระบุว่าเริ่มเห็นในช่วงหลังปี 2550 เป็นต้นมา เพราะก่อนหน้านี้ การขยายตัวของสินเชื่อโดยรวมยังต่ำกว่า Nominal GDP เนื่องจากในช่วงแรกหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอมากนัก

“ช่วง 10 ปีแรก นับจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมาแบงก์อาจยังไม่มีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากนัก เพราะช่วงนั้นแบงก์เองก็ได้รับผลกระทบไปไม่น้อย แต่พอเขาเริ่มเข้มแข็งขึ้น การทำหน้าที่ของแบงก์ก็เริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้น”

ข้อ มูลของธปท. พบว่า ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือประมาณปี 2535-2539 สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์มีการเติบโตเฉลี่ยที่ 23.6% ขณะที่ Nominal GDP เติบโต 12.9% และระหว่างปี 2540-2544 สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบหดตัวประมาณ 4.8% เทียบกับ Nominal GDP ที่เติบโต 2.2% ส่วนในปี 2555 สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบโต 15.3% เทียบ Nominal GDP ที่เติบโต 7.9% และในปี 2556 ที่ผ่านมา สินเชื่อธนาคารพาณิชย์เติบโต 10% เทียบ Nominal GDP ที่เติบโต 4.6%

สิน เชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ชะลอลงจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรลดลงก็ตาม แต่ยังสะท้อนว่าวิกฤติเศรษฐกิจยังมาไม่ถึงในเวลานี้ แต่อย่าประมาท หากการเมืองยังกดดันยืดเยื้อเป็นเวลานานจะยิ่งทำให้ธนาคารพาณิชย์ชะลอการ ปล่อยกู้กดดันวิกฤตเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้

ถึง วันนั้นค่อยมา ตรวจดูข้อมูลสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และเศรษฐกิจกันใหม่ แต่จนถึงขณะนี้การขยายตัวเศรษฐกิจชะลอและผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ไตรมาสแรกลด แล้ว เห็นได้ชัดครับ!!! – สำนักข่าวเดอะพับลิก