การศึกษาเป็นภาระหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิง มุสลิมทุกคนการเริ่มต้นชีวิตจะต้องเริ่มต้นที่การศึกษา
หมอ ทำคลอดเมื่อเริ่มรับร่างทารกที่ออกมาจากครรภ์ของมารดา ประโยคแรกที่สอนทารกน้อยด้วยภาษอาหรับ คือ “ฉันปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้านอกจากอัลลอฮ์ มุฮัมมัดศาสนทูตของอัลลอฮ์” นั่นคือการเรียนบทแรกสุดแห่งชีวิต หมอทำคลอดที่เป็นมุสลิมเขาจะทราบหลักสูตรนี้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใช้บริการจากหมอทำคลอดโรงพยาบาล จะไม่ได้รับการเรียนบทแรกนี้อย่างแน่นอน หลักสูตรต่อมา คือ เมื่อทารกน้อยอายุครบ ๗ วัน จะสอนผ่านหูข้างขวาด้วยการอะซาน และข้างซ้ายด้วยการอิกอมะฮ์
ผู้ อ่านอาจยิ้มเย้ยเล็กๆ อย่างน่ารักด้วยจิตสงสัยว่าอ่านทำไมทั้ง ๓ ข้อความแก่ทารกทั้งๆ ที่แกฟังไม่รู้เรื่อง กิจกรรมการอ่านใน ๓ วาระนั้นเป็นสัญญาณที่ยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตมนุษย์ที่เริ่มตั้งแต่โผล่ออกจาก ครรภ์มารดา ข้อความแรกที่รับฟังเมื่อโผล่ออกมาจากโลกแห่งครรภ์มารดาเป็นสัญญาณว่า ชีวิตได้เริ่มต้นขึ้นแล้วชีวิตนี้เป็นของอัลลอฮ์ ดำรงอยู่ด้วยความเมตตาของอัลลอฮ์ อย่าลืมอัลลอฮ์ไม่ว่าจะอยู่วาระใดหรือประสบการณ์ใดของชีวิต ต่อมาได้ส่งสัญญาณแก่ชีวิตน้อยๆ ว่า ภาระหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือการแสดงความจงรักภักดีต่อ อัลลอฮ์ ด้วยการแสดงรูปแบบแห่งความจงรักภักดีนั้นด้วยการทำละหมาด สัญญาณเตือนสั่นไหวจิตวิญญาณของทารกน้อยด้วยเสียงอะซานและเสียงอิกอมะฮ์ผ่าน หูของทารกน้อยว่าจะต้องถือเป็นกิจชีวิตอันถาวรตลอดไป สัญญาณแห่งชีวิตผู้รับสัญญาณมิได้รับด้วยภาษาที่ตนเข้าใจหรอก แต่รับทราบด้วยจิตวิญญานบริสุทธิ์
ระหว่างการเลี้ยงดูทารกน้อยจน เติบโตเป็นเด็กตามลำดับ ครอบครัวมุสลิมเท่านั้นที่จะดูแลทารกน้อยด้วยประโยคปฏิญาณดังกล่าว นอกจากด้วยประโยคปฏิญาณที่ทราบกันดีแล้วนั้น ยังมีบทลำนำศรัทธาอื่นๆ ที่เป็นภาษามลายูหรืออาหรับ ในยามเยาว์วัยเช่นนี้ผู้เลี้ยงดูจะไม่นำเพลงสนุกสนานอึกทึกครึกโครมบันเทิง เริงรมย์มากล่อมเด็ก ซึ่งสอดคลองกับวิทยาศาสตร์ที่อธิบายความเจริญเติบโตของสมองมนุษย์เรา สิ่งแรกที่เราพยายามบรรจุสู่สมองจะจำติดตราตรึงจิตใต้สำนึกตลอดไป สมองเด็กตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์จนเติบโต ความเจริญเติบโตด้วยกระแสคลื่นแห่งปัญญาอย่างชาญฉลาดของผู้เลี้ยงดู ย่อมทำให้เด็กฉลาดมากกว่าเด็กธรรมดาทั่วไป
เพลงศรัทธากล่อมเด็กเป็น เพลงที่มีคุณค่ามหาศาล ทำนองไพเราะ เนื้อหามีประโยชน์ เมื่อพยายามท่องจำให้เด็กได้ฟังบ่อยๆ เด็กก็จะจำไปจนตาย สังคมไทยในกลุ่มผู้มิใช่มุสลิม เขาก็มีเพลงศรัทธาเช่นเดียวกัน เป็นเพลงที่แต่งมาจากศรัทธาของผู้นับถือศาสนามีหนังสือและเทปจำหน่ายทั่วไป วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เริ่มต้นมาจากครอบครัว เมื่อโตขึ้นก็ขยายการเรียนออกอย่างกว้างขวางต่อไป
เมื่อเด็กอายุ ๓ ขวบก็จะนำเด็กไปฝากที่มัสยิดเพื่อให้เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การเรียนการท่องศาสนาจะทำให้เด็กปลูกฝังศาสนาแต่เยาว์วัยตราบจนเข้าเรียนใน ภาคต่อไป คือ หลักสูตรการศึกษาระดับพื้นฐาน ต่อด้วยระดับอุดมศึกษา มีปริญญาที่แสดงถึงระดับการศึกษาจากปริญญาตรี ปริญญาโท ถึงปริญญาเอก จะระดับละกี่ใบปริญญาก็ตาม บางท่านไม่ทำอะไรทำแต่ปริญญาจนแก่เถ้า ได้ปริญญาตั้งมากมาย แต่จมดิ่งแห่งชีวิตในมหาสมุทรแห่งการเล่าเรียน จนมึนงงไปหมด แล้วก็ทำอะไรที่รู้มาจากปริญญาไม่รู้เรื่อง เพราะได้แต่ความรู้แต่ไม่มีเวลาปฏิบัติจริง ความรู้ที่ได้จากตำราที่เรียนมาจึงขาดความมั่นใจ พอจะทำอะไรตามความรู้ที่ตนเรียนมาเกิดอาการไม่มั่นใจต้องถามคนที่ไม่เคยมี ปริญญาแต่ทำเก่ง ตรงกับสุภาษิตไทยเราว่า “ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด”
มี ความรู้แล้วได้ปฏิบัติความรู้ตามที่ตนเรียนมา สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกคือความรู้ ตรงกับหดิษที่ระบุว่า “ใครรู้สิ่งใดแล้วเขาปฏิบัติตามที่เขาเรียนมา อัลลอฮ์จักเพิ่มเติมสิ่งที่เขายังไม่รู้ให้แก่เขาอย่างแน่นอน” จิตวิทยาการเรียนรู้ตามหดิษนี้ระบุย่อมให้ความมั่นใจแก่เราได้เลยว่าเรารู้ อะไรมาต้องรีบนำสิ่งนั้นมาปฏิบัติอย่างจริงจังและเคร่งครัด แล้วอัลลอฮ์จะเพิ่มเติมสิ่งที่เราไม่รู้ให้แก่เราอีก ความรู้จะยิ่งเพิ่มเติมให้แก่เราตลอดเวลาเป็นความรู้ต่อยอดที่อัลลอฮ์ประทาน แก่เราอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะเราไม่เคยหยุดที่จะปฏิบัติ ความเชี่ยวชาญจะเป็นรางวัลที่อัลลอฮ์ประทานแก่เรา รางวัลแห่งความรู้ที่เราได้รับจากอัลลอฮ์นั้นเป็นผลเพิ่มที่มีค่ามหาศาล สำหรับชีวิตของเรา ดังนั้นเมื่อเราต้องการผลเพิ่มแห่งความรู้ที่ได้จากอัลลอฮ์ เราจะต้องหมั่นปฏิบัติสิ่งที่เรารู้ให้เป็นกิจนิสัยถาวรของเรา แม้เราจะไม่ได้ขอผลเพิ่มนั้นเป็นวาจาจากอัลลอฮ์ ด้วยประโยคที่สุดไพเราะ แต่พฤติกรรมของเราดังกล่าวมีค่าเท่ากับการวอนขอต่ออัลลอฮ์ด้วยวาจานั่นเอง อัลลอฮ์จึงเพิ่มพูนความรู้แก่เราตลอดเวลา อัลกุรอานบัญญัติว่า
ความว่า… “….และจงกล่าวเถิด โออัลลอฮ์โปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพเจ้าเถิด” (ฏอฮา 114)
ความ รู้ทุกประเภทเป็นสัจธรรม เราจึงต้องให้ความสำคัญและคารวะต่อมันอย่างจริงใจ อย่าหาความรู้เพื่อนำความรู้นั้นไปแสวงหาปัจจัยแห่งโลก เพราะปัจจัยแห่งโลกเป็นสิ่งประทานของอัลลอฮ์แก่บ่าวของพระองค์โดยตรง เราไม่ต้องผยองแสดงความไม่ไว้วางใจในพระองค์จนเราต้องทวงขอจากพระองค์ โลกปัจจุบันจึงคลาคล่ำด้วยพฤติกรรมเลวร้ายที่มนุษย์แ สดงออกต่อพระองค์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
อิทธิพลแห่งความโลภความหลง ความหยิ่งความจองหองและฤทธิ์เดชของวัตถุนิยมทุนนิยมและบริโภคนิยมกระจาย อย่างแพร่หลายทั่วโลก ในขณะที่ความรู้ในทุกสายวิชาไม่ว่าสายสามัญสายศาสนาสายอาชีพมีความแพร่หลาย อย่างน่าภาคภูมิ แต่ความอัปยศอดสูที่บังเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ ความหลงต่างๆที่กล่าวมาในบรรทัดแรกของย่อหน้านี้ได้นำมาห่อหุ้มเป็นเครื่อง นุ่งห่มประดุจทองคำแท่งหรือทองคำแปรรูปที่ห่อหุ้มด้วยอุจจาระ ท่ามกลางความหลงใหลของผู้ใช้ทองคำเหล่านั้นด้วยสีที่แยกไม่ออกเพราะทองและ อุจจาระมีสีเหลืองเหมือนกัน สมองแห่งการแยกแยะถูกปิดบังโดยสิ้นเชิง อัลกุรอานบัญญัติว่า
ความ ว่า…”……และพวกเจ้าอย่านำโองการของฉันไปแลกซื้อกับสิ่งที่มีมูลค่า เพียงเล็กน้อย และเฉพาะฉันเท่านั้นที่พวกเจ้าทั้งหลายพึงยำเกรงและพวกเจ้าอย่าได้นำโมฆกรรม มานุ่งห่มสัจธรรม และพวกเจ้าปิดบังสัจธรรมโดยพวกเจ้าก็รู้” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 41,42)
หมายเหตุ : บทความโดย อ.มัรวาน (วินัย) สะมะอุน ตีพิมพ์ใน พับลิกโพสต์ ฉบับ38 มีนาคม 2554