มุสลิมในประเทศไทยมาจากไหน? (2)

จากน่านเจ้า-ยูนนาน สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

การอาศัยอยู่หรือการเข้ามาอยู่ในดินแดนขวานทองของคนมุสลิม ก็มิได้ต่างไปจากอีกหลายชาติพันธุ์ อย่าง มอญ ฉาน ลาว จีน เวียดนาม กล่าวคือ มาโดยเป็นพ่อค้าวาณิชที่เข้ามาค้าขาย บ้างก็อพยพหนีการรุกรานจากถิ่นอื่น รวมถึงรวบรวมหัวเมืองของอาณาจักรไทยในยุคต่างๆ หลอมรวมกันจนกลายเป็นราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน

เหล่า นี้ทำให้ประเทศไทย เป็นดินแดนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา คติความ เชื่อ จนที่สุดหลายสิ่งหลายอย่างก็ได้กลายกลืนกัน ถ่ายทอดทางวัฒนธรรมกันไป มา จนบางครั้งก็แทบแยกไม่ออกว่ามีที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ใดกันแน่ แต่นี่ แหละที่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเมืองไทย ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทาง วัฒนธรรมที่น่าดึงดูดใจและน่าศึกษาค้นคว้ายิ่ง

รศ.ดร.สุ เนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เคยกล่าวว่า องค์ ความรู้เกี่ยวกับชาวไทยชาติพันธุ์ต่างๆ ในแผ่นดินไทย รวมทั้งชาวไทย มุสลิม สมควรได้รับการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ ในมิติที่กว้างขวาง ทั้งทาง ด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา สังคม อารยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และอัต ลักษณ์ทางภาษา ด้วยจุดประสงค์ที่มุ่งหวังให้สังคมได้รับทราบ และตระหนักว่า พี่น้องมุสลิม ก็คือคนไทยส่วนหนึ่ง ที่หล่อหลอมเป็นเนื้อหนึ่งอันเดียวกันใน สังคมไทยมาช้านาน มีบูรณาการร่วมกันในสิ่งที่เราเรียกว่า ความเป็นไทยใน ปัจจุบันอย่างกลมกลืน จนกล่าวได้ว่า ความเป็นชาติไทยในปัจจุบันไม่อาจที่จะ แยกความเป็นมุสลิมออกไปได้ อันเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่เราอาจมอง ไม่เห็น หรือหลงลืมไป ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับมุสลิมกับสังคม ไทยในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน จึงเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยศาสนิกชนอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้เกิด การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมเรา นั่นเอง

ใน ตอนที่แล้ว(ตอนแรก) เราได้เกริ่นถึงการเข้ามาของคนมุสลิมในไทย เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันมีชาวไทยมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม อยู่ในประเทศไทย ถึง 7 ชาติพันธุ์ ได้แก่ มลายู มักกะสัน เปอร์เซีย มะหง่น จาม อาหรับ ตุรกี โดยมี จำนวนประชากรมุสลิมทั้งหมดประมาณ 3.4 ล้านคน ของประชากรในประเทศไทยทั้งหมด เรียกว่าไม่น้อยเลย และเราได้ทิ้งค้าง ไว้ที่เส้นทางการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไว้ที่อาณาจักรน่านเจ้า จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบ และจดจารไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์เล่าถึง การ แผ่ขยายของศาสนาอิสลามสู่ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อุษาคเนย์ ) มีเส้นทางสำคัญอยู่ 2 เส้นทาง คือ

1. ทาง ทะเล จากคาบสมุทรอารเบียตอนใต้ผ่านมหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่หมู่เกาะสุมาตรา และชวา ตลอดจนเมืองท่าสำคัญในแหลมมลายู ซึ่งก็คือภาคใต้ของสยามประเทศ

2. ทาง บก จากดินแดนตะวันออกของรัฐอิสลาม ซึ่งมีพรมแดนจรดประเทศจีนในเมืองคัชฺ การ์ แคว้นซินเกียง ตามเส้นทางแพรไหมเดิม เข้าสู่ประเทศจีน และแผ่ขยายสู่ ดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแถบมณฑลเสฉวน ยูนนาน กวางสี และกวางตุ้ง ตาม ลำดับ ซึ่งดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีนนี้ เชื่อกันว่าเป็นแหล่ง กำเนิดของชนชาติไทยและเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า อันเป็นอาณาจักรแรก ของคนไทยก่อนการเคลื่อนย้ายลงมายังสุวรรณภูมิ

เริ่ม ที่อาณาจักน่านเจ้า อันมีอาณาเขตกว้างขวาง ไม่ไกลจากเมืองไทยในปัจจุบัน ก็ คือเขตมณฑลยูนนานทั้งหมด รวมไปถึงแคว้นสิบสองปันนาด้วย กล่าวคือ ทิศเหนือ จรดมณฑลเสฉวน ทิศใต้จรดพม่า ญวณ ทิศตะวันออกจรดดินแดนไกวเจา กวางสี ตัง เกี๋ย และทิศตะวันตกจรดพม่า ธิเบต ซึ่งมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลาย องค์ และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับจีนมากมาย จนกระทั่งถูกกองทัพมองโกลยกมา ย่ำยี และอาณาจักรน่านเจ้าได้ถูกทำลายสิ้นใน พ.ศ. ๑๗๙๗ ชาวไทยน่านเจ้าจึงอพยพลี้ภัยลงมาทางใต้ไม่น้อยเลย แต่ที่ตกอยู่ในอำนาจ ของพวกมองโกลแห่งกุบไลข่าน ก็มีมิใช่น้อยเหมือนกัน อาณาจักรน่านเจ้าของไทย สูญชื่อมาตั้งแต่บัดนั้น (ทองใบ แตงน้อย “แผนที่ภูมิศาสตร์” ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย พิมพ์ครั้งที่ ๓๑ : ๒๕๓๖)

เชื่อ กันว่า ก่อนที่คนไต หรือคนไทยจะเสียอาณาจักรน่านเจ้า (หรือแคว้นยูนนาน แก่พระจักรพรรดิมองโกล คือ พระเจ้าซีโจ้ว หรือ กุบไล ข่าน สมัยราชวงศ์หงวน หรือ หยวน พ.ศ. ๑๘๐๓ –๑๙๑๑) นั้นศาสนาอิสลามน่าจะได้แพร่หลายในอาณาจักรน่านเจ้าแล้ว (ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ ; ความสัมพันธ์ของมุสลิมฯ พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๕ – สำนักพิมพ์มติชน หน้า ๗)

ส่วน ปีที่อาณาจักรน่านเจ้าถูกมองโกลรุกราน และทำลายสิ้นนั้น คือราวปีพ.ศ. ๑๗๙๗ (ค.ศ. ๑๒๕๔) แต่ปีที่พระเจ้าซีโจ้ว หรือกุบไลข่านขึ้นครองราชย์ และตั้งราชวงศ์หยวนในจีน นั้นราว พ.ศ. ๑๘๐๒ – ๑๘๐๓ / ค.ศ. ๑๒๖๐

ข้อ สันนิษฐานก็คือ ศาสนาอิสลามน่าจะเข้าสู่อาณาเขตของน่านเจ้า นับตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซ้อง (ส้ง) (พ.ศ. ๑๕๐๓ – ๑๘๒๓ / ค.ศ. ๙๖๐ – ๑๒๗๙) จากเมืองกวางโจว โดยในสมัยราชวงศ์ซ้อง เมืองกวางโจวถือเป็นศูนย์กลาง ประชาคมมุสลิมที่หนาแน่นที่สุดเมืองหนึ่งในจีน (ฮุซัยน์ มุอันนิส – อัลอิสลาม อัลฟาติฮ์ – ค.ศ. ๑๙๘๗ หน้า ๖๙) ผลจากการเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่ได้รับการตอบรับจากพลเมืองในประเทศจีน ช่วงรัช สมัยราชวงศ์ซ้อง ทำให้ในอาณาจักรนางเจียวหรือน่านเจ้า มีชาวเมืองหรือคนไต ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม (จากหนังสือ Islam in China) และในนครหลวงตาลีฟู หรือหนองแส หรือม่งเส ซึ่งพระเจ้าโก๊ะล่อฝง ทรงสร้างราว พ.ศ. ๑๓๐๐ (ค.ศ. ๗๕๗) จนได้เสียแก่พระจักรพรรดิกุบไลข่านนั้น ก็ยังปรากฏว่ามีพลเมืองส่วนมากเป็น มุสลิม ด้วย

และ ในขณะที่พระจักรพรรดิกุบไลข่านขึ้นครองราชย์นั้น (ค.ศ. ๑๒๕๙) พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งท่านมุฮำหมัดซัมซุดดีน ซึ่งเป็นชาวมุสลิมจากเมืองบุคอ รอ รู้จักกันในนาม “อัซซัยยิด อัลอะญัล” (นายใหญ่) ให้เป็นผู้ดูแลการคลังของจักรวรรดิมองโกล ต่อมาในภายหลังท่านได้เป็นผู้ ว่าการมณฑลยูนนาน (ฮุซัยน์ มุอันนิส “อัลอิสลาม อัลฟาติฮ์” หน้า ๗๐) ซึ่งเป็นอาณาเขตเดิมของอาณาจักรน่านเจ้า ในปี ฮ.ศ. ๖๗๑ / ค.ศ. ๑๒๗๒ / พ.ศ. ๑๘๑๕

จะเห็นได้ว่าความเป็นมาเป็นไปของการมีอยู่ของอาณาจักรน่านเจ้าในยุคนั้น กอปรไปด้วยชนมุสลิมที่เข้ามาอยู่อาศัยและร่วมสร้างบ้านแปงเมืองกันอยู่ไม่น้อยเลย สำหรับตอนหน้าเราจะมาย้อนรอยบันทึกของมาร์โคโปโล และชนชาว ‘ฮ่อ’ มีความข้องเกี่ยวกับมุสลิมอย่างแยกไม่ออกอย่างไร—ต้องติดตาม!