หมากรุก เกมของราชา

ใน ปี 1509 ดิเอโก โลเปส ผู้บัญชาการคณะสำรวจมะละกาชุดแรกของโปรตุเกสกำลังเล่นหมากรุกอยู่ ขณะที่ชาวชวาผู้หนึ่งจากแผ่นดินใหญ่ได้ขึ้นมาบนเรือ ชาวชวาคนนั้นจำเกมนี้ได้ในทันที และชายทั้งสองคนได้พูดคุยกันถึงรูปแบบของตัวหมากแต่ละตัวที่ใช้เล่นหมากรุก ที่นั่น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพวกเขาสนทนากันผ่านล่าม แต่ความจริงที่ว่า ชายสองคนที่บ้านเกิดของเขาอยู่ห่างกันครึ่งค่อนโลกแต่สามารถพบว่าพวกเขามี การเล่นหมากรุกเหมือนกัน เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเช่นเดียวกับกับข้อเท็จจริงที่ว่า พวกเขายังสามารถพบผู้เล่นคนอื่นๆ ที่มีความคุ้นเคยกับเกมนี้ทุกที่ที่หยุดพักในอเชีย ตะวันออกกลาง หรือยุโรป

รูป ที่ 1 : ต้นฉบับ ดิวาน อิ ชัมซี ตับริซี(Divan – Shamse Tabrizi) แห่งศตวรรษที่ 15-16 เป็นภาพวาดขณะ ชัมซี ตับริซี กำลังเล่นหมากรุกกับเจ้าชายหนุ่มแห่งเปอร์เซีย ผลงานอันยิ่งใหญ่นี้เป็นงานเขียนชิ้นสำคัญของ ญะลาลุดดีน มุฮัมมัด รูมี
รูป ที่ 1 : ต้นฉบับ ดิวาน อิ ชัมซี ตับริซี(Divan – Shamse Tabrizi) แห่งศตวรรษที่ 15-16 เป็นภาพวาดขณะ ชัมซี ตับริซี กำลังเล่นหมากรุกกับเจ้าชายหนุ่มแห่งเปอร์เซีย ผลงานอันยิ่งใหญ่นี้เป็นงานเขียนชิ้นสำคัญของ ญะลาลุดดีน มุฮัมมัด รูมี

เกมนี้คืออะไร มันจึงได้ข้ามพรมแดนแห่งภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ภูมิประเทศ เชื้อชาติ ตลอดจนชนชั้น และได้ถักทออย่างล้ำลึกลงในเค้าโครงของเอเชียและโลกกว้าง? กฎกติกาและการเดินตัวหมากอันหลากหลายนี้ง่ายดายมากจนเด็กนักเรียนคนไหนก็ สามารถเรียนรู้ได้

เด็กๆ ยังเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า การที่รู้แค่ว่าตัวม้าหรือตัวเม็ดเดินอย่างไรนั้นไม่ทำให้ชนะได้ เกมนี้ยังต้องมีการหนีรอด การลวงล่อ และการสละหมาก มีความเป็นไปได้ที่จะเสียแล้วได้ และโอกาสในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการเดินหมากอย่างชาญฉลาด ที่ไม่คาดคิด การเดินหมากแต่ละครั้งส่งผลให้แบบแผนของความเป็นไปได้ในการเดินตัวหมากครั้ง ต่อไปแตกต่างออกไป และแบบแผนนั้นๆ ส่งสัญญาณถึงความได้เปรียบ ความท้าทาย หรืออันตราย ไม่มีกู้สถานการณ์คืนได้ด้วยความบังเอิญ ไม่มีการหมุนช่วยของลูกเต๋าหรือล้อหมุน ไม่มีโชคดีด้วยการดึงไพ่

โดยสาระสำคัญแล้ว หมากรุกคือการต่อสู้ โดยใช้จิตวิทยาอย่างมากเป็นกลยุทธ์ เพื่อให้ชนะ ผู้เล่นต้องเข้าใจความนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม อ่านเกมออกในการเดินหมากแต่ละครั้ง เขาจะต้องควบคุมจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามอย่างละเอียด ว่าจะรุกอย่างดุเดือด? หรือจะป้องกันมากกว่าจู่โจม? หรืออยากจะกวาดอีกด้านหนึ่ง? ซึ่งเขาสามารถคาดเดาล่วงหน้าและใช้ประโยชน์จากมัน หมากรุกคือเกมของข้อมูล จริงหรือหลอก คิดจากสิ่งที่ฝ่ายตรงข้าม “ควร” ทำ ตั้งต้นจากการเล่นที่ผ่านมาของตัวเองหรือของคนอื่นๆ และจากสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามทำ หมากรุกไม่มีการนองเลือด แต่ให้ความสนุกตื่นเต้นของการต่อสู้ทางจิต ไม่มีการจับกุมนักโทษในชัยชนะอย่างเด็ดขาด นี่คือความดึงดูดใจของมัน

รูป ที่ 2 : หนุ่มเปอร์เซียเล่นหมากรุกกับสองผู้ท้า ภาพประกอบใน “Haft Awrang” (เจ็ดบัลลังก์) โดย นูรุดดีน อับดุร-เราะฮ์มา จามี ในเรื่อง A Father Advises his Son About Love
รูป ที่ 2 : หนุ่มเปอร์เซียเล่นหมากรุกกับสองผู้ท้า ภาพประกอบใน “Haft Awrang” (เจ็ดบัลลังก์) โดย นูรุดดีน อับดุร-เราะฮ์มา จามี ในเรื่อง A Father Advises his Son About Love


หลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าหมาก รุกมีที่มาแต่โบราณในแถบเปอร์เซียและเอเชียกลาง  การขุดค้นเมื่อศตวรรษที่ 7 ในบริเวณอัฟราซิอับ (Afrasiab) พื้นที่เก่าแก่ที่สุดของสะมัรคันด์ (Samarkand) ประเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบัน ได้ค้นพบตัวหมากแกะสลักตัวเล็กๆ เจ็ดชิ้นที่มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับการพรรณาถึงตัวหมากเปอร์เซียในเวลา ต่อมา ประกอบด้วย ขุน(king), ฟาซิน (“ที่ปรึกษา”), ช้าง, ม้า, เรือ และเบี้ย วรรณกรรมเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงหมากรุกคือในนิยายรักของเปอร์เซียในยุค เดียวกัน ประมาณ ค.ศ.600 เรื่อง Karnamak-I Artaxshir-I Papakan (การกระทำของอัรดาชิรฺ บุตรของปาปัก) นอกจากความเก่งฉกาจในการล่าสัตว์และขี่ม้าแล้ว พระเอกยังเป็นนักเล่นหมากรุกที่มีความชำนาญอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หมากรุกไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในเปอร์เซีย หลักฐานอ้างอิงของเปอร์เซียยุคต้นทั้งหมดที่กล่าวถึงหมากรุกจะใช้คำว่า Chatrang จากภาษาสันสกฤตว่า จตุรงค์ (สี่ฝ่าย) ซึ่งหมายถึงพลสี่เหล่าของกองทัพอินเดียโบราณ ได้แก่ พลเดินเท้า, ทหารม้า, ทัพช้าง และ พลรถ การใช้คำที่ผันจากคำสันสกฤตเพื่อเรียกเกมหมากรุก หรือ chess ในภาษาเปอร์เซียโบราณบ่งบอกว่าเกมนี้มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียและไม่ใช่การคิดค้นในท้องถิ่น ถึงแม้หลักฐานสนับสนุนจะมีความคลุมเครือก็ตาม วรรณคดีสันสกฤตยุคต้นส่วนใหญ่ไม่ได้อ้างถึงหมากรุก แต่หมายถึงเกมบนกระดานที่ใช้ลูกเต๋า ส่วนใหญ่ถูกลืมไปนานแล้ว แม้จะมีอย่างน้อยหนึ่งเกมที่ยังคงเล่นกันอยู่ คือเกมปาชิสิ มีเครื่องหมายว่า Parcheesi

รูป ที่ 3 : ชุดหมากรุกกระดูกแบบอิสลามที่สวยงามและเลิศหรู โดยไม่มีส่วนใดเป็นรูปร่างของมนุษย์หรือสัตว์ ชุดหมากรุกแบบอิสลามมักจะมีลักษณะที่เป็นศิลปะงดงาม ชุดนี้มีอายุมาตั้งแต่ประมาณปี 1900
รูป ที่ 3 : ชุดหมากรุกกระดูกแบบอิสลามที่สวยงามและเลิศหรู โดยไม่มีส่วนใดเป็นรูปร่างของมนุษย์หรือสัตว์ ชุดหมากรุกแบบอิสลามมักจะมีลักษณะที่เป็นศิลปะงดงาม ชุดนี้มีอายุมาตั้งแต่ประมาณปี 1900

สิ่งที่น่าเชื่อถือได้ว่า อินเดียยุคต้นกล่าวถึงหมากรุกไว้ก็คือในนิยายรักที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่หก ดังนั้นจึงถือว่ามีหลักฐานมาก่อนเปอร์เซียและเอเชียกลางเล็กน้อย กวีสุพันธุ (Subandhu) เคยใช้ภาพของหมากรุกมาบรรยายฤดูมรสุม

เรื่องของกษัตริย์นูชิรวาน (Nushirvan) แห่งเปอร์เซีย จากศตวรรษที่เจ็ด (บันทึกโดยฟิรเดาซี ในหนังสือชาห์นามาห์(Shahnamah) หรือคัมภีร์แห่งกษัตริย์ จากศตวรรษที่ 11) ก็สนับสนุนเช่นกันว่าหมากรุกมีที่มาดั้งเดิมจากอินเดีย เรื่องนี้กล่าวว่า คณะทูตมาจากอินเดีย “ด้วยช้าง, ร่ม และม้า” และกระดานหมากรุก, ตัวหมากรุก และคำท้าทายว่า ถ้าหากข้าราชสำนักของนูชิรวานสามารถขบคิดได้ถึงกฎพื้นฐานของเกมนี้ ซึ่งสมัยนั้นยังไม่รู้จักในเปอร์เซีย กษัตริย์อินเดียจะยินดีจ่ายบรรณาการให้แก่กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย แต่ถ้าหากพวกเขาพ่ายแพ้ นูชิรวานจะต้องจ่ายบรรณาการให้แก่กษัตริย์ของอินเดีย ขุนนางและนักบวชพยายามอย่างหนักโดยไม่ประสบความสำเร็จเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ในที่สุด หลังจากดิ้นรนต่อสู้มาหนึ่งวันกับหนึ่งคืน อัครมหาเสนาบดีของนูชิรวานก็ได้ถอดรหัสและอธิบายเกมนี้ว่า

“ท่านนักปราชญ์ได้คิดค้นสนามรบหนึ่งขึ้น ซึ่งกษัตริย์ตั้งที่มั่นอยู่ตรงกลาง ทางด้านซ้ายและขวาของพระองค์มีการจัดวางกองทัพเอาไว้ ทหารราบประจำการอยู่เบื้องหน้า ที่ปรึกษาผู้ชาญฉลาดยืนอยู่เคียงข้างพระราชา คอยแนะนำพระองค์ในการใช้ยุทธศาสตร์ระหว่างการสู้รบ ทัพช้างประจำการอยู่ทั้งสองทิศโดยหันหน้าเข้าหาสนามรบ นอกจากพวกเขาแล้วก็มีม้าศึกประจำการอยู่ซึ่งมีทหารม้าช่างคิดควบคุม และมีป้อมปืนต่อสู้เคียงข้างพวกเขาทางด้านซ้ายและขวาที่พร้อมประจัญบาน”

นักเขียนอาหรับที่เขียนเกี่ยวกับหมากรุกยอมรับกันว่าเกมนี้เผยแพร่สู่ตะวันตก จากเปอร์เซีย อาจจะเพียงไม่นานหลังจากการพิชิตของอิสลามในกลางศตวรรษที่เจ็ด คำภาษาอาหรับที่ใช้เรียกเกมนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ชัตรอนจ์ ภาษามาตรฐานที่แปลมาจากคำว่า ชาตรัง ในภาษาเปอร์เซีย และชื่อทั้งหมดของตัวหมากแต่ละชิ้น (ยกเว้นม้า) เป็นชื่อภาษาเปอร์เซียในรูปแบบของภาษาอาหรับ อย่างไรก็ตาม ขณะที่เกมนี้กระจายออกไป มันไม่ได้เป็นที่ต้อนรับเสมอไป โบสถ์ตะวันออกที่คอนสแตนติโนเปิลได้ประณามหมากรุกว่าเป็นการพนันรูปแบบหนึ่ง เมื่อปี 860 และ อัล-ฮะกีม ผู้ปกครองจากราชวงศ์ฟาติมิดของอียิปต์ ได้ห้ามเล่นเกมนี้ในปี 1005 และสั่งให้เผาชุดเล่นหมากรุกทั้งหมด

 

ภาพวาดตำราหมากรุกเปอร์เซียนี้ อาจสืบไปถึงศตวรรษที่ 14
ภาพวาดตำราหมากรุกเปอร์เซียนี้ อาจสืบไปถึงศตวรรษที่ 14
กระดานหมากรุกจากต้นแบบอิสลาม (a) กระดานหมากรุกของแคชเมียร์หรืออินเดียเหนือ ศตวรรษที่ 18 เป็นกระดานไม้ทาสีสำหรับเล่นนาร์ด(แบ๊กแกมมอน) และหมากรุก ตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้มากมายหลายสีภายใน และขอบสีน้ำเงิน กว้าง 39 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. (b) กระดานหมากรุกฝังมุกแบบเลบานอน กระดานหมากรุกฝังมุกแบบประณีตจากเลบานอน (อีกด้านเป็นกระดานแบ๊กแกมมอน) ราวๆ ปี 1930 ฝังด้วยมุกมากกว่า 2,000 ชิ้น
กระดานหมากรุกจากต้นแบบอิสลาม (a) กระดานหมากรุกของแคชเมียร์หรืออินเดียเหนือ ศตวรรษที่ 18 เป็นกระดานไม้ทาสีสำหรับเล่นนาร์ด(แบ๊กแกมมอน) และหมากรุก ตกแต่งด้วยลวดลายดอกไม้มากมายหลายสีภายใน และขอบสีน้ำเงิน กว้าง 39 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. (b) กระดานหมากรุกฝังมุกแบบเลบานอน กระดานหมากรุกฝังมุกแบบประณีตจากเลบานอน (อีกด้านเป็นกระดานแบ๊กแกมมอน) ราวๆ ปี 1930 ฝังด้วยมุกมากกว่า 2,000 ชิ้น



มีเอกสารการเคลื่อน ไปทางตะวันออกของหมากรุกสู่จีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้อยกว่าที่มัน เคลื่อนไปทางตะวันตก แหล่งอ้างอิงแรกเริ่มเกี่ยวกับหมากรุกในจีนอยู่ใน Yu Kuai Lu (ตำราพิศวง) ย้อนกลับไปถึงประมาณปี ค.ศ.800 กล่าวถึงเรื่องของชายคนหนึ่งในปี 762 “ที่ฝันถึงการสู้รบที่มีการเคลื่อนกองกำลัง ทั้งกองทหารม้า, ผู้บัญชาการ, รถศึก และพลชุดเกราะ เหมือนกับที่มีในหมากรุกของจีน” ริชาร์ด อีเลส เขียนไว้ใน “หมากรุก : ประวัติศาสตร์ของเกม” ว่า “เขาตื่นขึ้นมาพบว่าตัวหมากรุกชุดหนึ่งถูกฝังอยู่ในบ่อน้ำใกล้ๆ”

ไม่ ว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ก็มีหลักฐานมากมายเหลือเกินเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมที่ มั่นคงระหว่างอินเดียและจีน ทั้งทางเส้นทางสายไหมและเส้นทางการเดินเรือทางตอนใต้ผ่านเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ และแท้จริงแล้ว ในยุคสมัยของราชวงศ์ถังนี้เองที่แนวความคิด, เสื้อผ้า และอาหารจากต่างชาติได้ถูกต้อนรับสู่ราชสำนักอย่างเป็นทางการ มีพ่อค้าและนักเผยแพร่ศาสนามากกว่า 200 คณะที่เดินทางระหว่างอินเดียและจีนในช่วงประมาณปี 650 ถึง 850 อ้อยและเทคโนโลยีที่จะทำให้มันเป็นพืชทำเงินได้เดินทางมาจากอินเดียสู่จีน และความรู้ในการผลิตกระดาษเดินทางตามเส้นทางสายไหมไปสู่ตะวันออกกลาง การเพาะปลูกมะม่วงเพื่อการค้าอพยพจากอินเดียไปยังชวา มันคงน่าประหลาดใจถ้าหากเกมที่น่าทึ่งอย่างหมากรุก ซึ่งมีเล่นกันอยู่แล้วในอินเดียและเอเชียกลางนานกว่าศตวรรษหรือมากกว่านั้น จะไม่ได้เดินทางตามเส้นทางกองคาราวานไปสู่จีนหรือตามเส้นทางทะเลไปสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน จากยุคต้นๆ นี้ จนถึงปัจจุบัน หมากรุกเป็นที่นิยมเล่นกันในมาเลเซีย, พม่า, จีน และหมู่เกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

แปล/เรียบเรียงจาก : muslimheritage.com