สถาบันครอบครัวของ ชาวหุย

สถาบัน ครอบครัวเป็นสถาบันมีความสำคัญมากในสังคม และหน้าที่อันสำคัญยิ่งของสถาบันครอบครัวนั้นคือ “การสร้างคน” เพื่อให้ “คน” ที่สร้างนั้นเป็น “คน” ที่สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้ มาตรฐานในการ “สร้าง” ของแต่ละกลุ่มนั้นมีความแตกต่างกันตามเบื้องหลังของครอบครัว เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นต้น แล้วมาตรฐานของชาวหุยซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศจีน เป็นเช่นไรล่ะ

หลัง จากที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่ประเทศจีนตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 7 การเข้ามาของชาวเปอร์เซียในสถานภาพต่างๆ เช่นพ่อค้า นักการทูต เป็นต้น การเข้าสู่จีนของพวกเขา ทำให้เกิดปรากฏการณ์การสมรสระหว่างผู้ชายชาวเปอร์เซียและผู้หญิงชาวหุย สังคมชาวหุยในอดีตจึงนิยมพูดกันว่า “คุณปู่หุย คุณย่าฮั่น” (หุย ปาปา ฮั่นน่ายนาย) และปรากฏการณ์ที่น่าสังเกตก็คือ สถานการณ์ของการ “เข้ารีต” นั้น ส่วนมากจะเป็นการแต่งเข้าของสาวฮั่น ส่วนน้อยที่ผู้หญิงชาวหุยจะแต่งงานกับผู้ชายชาวฮั่น ดังนั้นพื้นฐานการดำรงชีวิตของชาวหุย จึงสามารถคงความศรัทธาตามแนวทางของอัล-อิสลามที่มีความเป็นหนึ่งเดียวได้ และรูปแบบการศึกษาภายในครอบครัวของชาวหุยจึงเป็นแบบพ่อ สอนลูก

เมื่อ จำนวนของชาวหุยมากขึ้น ชาวหุยจึงกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติอย่างเป็นทางการของจีนในที่สุด ระหว่างนั้นได้เกิดชุมชนชาวหุยขนาดเล็กและใหญ่ขึ้น โดยชุมชนต่างๆ ได้กระจายอยู่ทั่วประเทศจีน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือมัสยิดขนาดน้อยใหญ่ตามชุมชนต่างๆ ของชาวหุย ซึ่งมัสยิดนอกจากจะเป็นที่ปฎิบัติศาสนกิจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการพบปะแลกเปลี่ยนของชาวหุย บุตรหลานชาวหุยจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับศาสนามากขึ้น นอกจากการติดตามผู้ปกครองเพื่อไปปฎิบัติศาสนกิจแล้ว ชาวหุยยังได้ให้บุตรหลานเรียนความรู้พื้นฐานทางด้านศาสนาอิสลามในมัสยิด ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ 4 เดือน ในอดีตเยาวชน ชาวหุยจึงมีโอกาสใกล้กับศาสนาอิสลามมาก

“ชาวหุยใต้หล้าครอบครัวเดียวกัน”  “ก่อนพบกันใยต้องรู้จักกัน ‘สลาม’ คำเดียวก็สนิทได้” เป็นสโลแกนที่ชาวหุยคุ้นเคยกันดี ด้วยหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นเป็นหลักคำสอนที่เน้นการปฏิบัติตนในการ ดำเนินชีวิต ชาวหุยจึงมักจะมีจารีต ข้อควรใช้ข้อควรห้ามตามหลักเกณฑ์ของศาสนา ตั้งแต่ธรรมเนียมในการบริโภค ชาวหุยจะรับประทานเฉพาะอาหารฮาลาล งดบริโภคอาหารที่ฮารอม บุตรหลานของชาวหุยยังได้มีการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้มีความเข้มแข็ง อดทน ตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม โดยมีการฝึกการถือศีลอดตั้งแต่วันเยาว์ ผู้ชายชาวหุยยังถูกฝึกให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีวิชาการป้องกันตัว โดยที่ผู้ชายชาวหุยจะต้องถูกฝึก “กังฟู” ตั้งแต่เด็ก และชาวหุยได้สร้างนักกังฟูที่มีชื่อเสียงแล้วจำนวนไม่น้อย ครอบครัวชาวหุยยังให้ความสำคัญในการสืบทอดความรู้และเทคนิคทางด้านอาชีพ ต่างๆ โดยเฉพาะอาชีพการค้า ไม่ว่าจะเป็นการค้าเร่และฝีมือในการสร้างงาน (อาชีพ) จนทำให้ชาวหุยสามารถผูกขาดบางอาชีพในสังคมได้ เช่นเมื่อกล่าวถึงบะหมี่เนื้อวัว ทุกคนต้องคิดถึงบะหมี่เนื้อวัวของชาวหุย เป็นต้น

ปัจจุบัน นี้นักวิชาการจีนมีความเห็นว่า วัฒนธรรมของชาวหุยนั้นเป็นการผสมผสานสองวัฒนธรรมหลัก นั่นก็คือการผสมผสานกันของวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมอิสลาม ดังนั้นหลังจากที่ศาสนาอิสลามเข้าสู่จีน จึงเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเนื้อหาต่างๆ ก็ผสมผสานกัน ในช่วงปลายราชวงค์หมิงถึงช่วงต้นราชวงค์ชิง (ค.ศ. 1600-1690) ได้มีนักวิชาการชาวหุย ที่มีความรู้ทั้งภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และมีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาอย่างดี นักวิชาการกลุ่มนี้ได้นำเรื่องราวคุณธรรมแนวความคิดของขงจื่อ ผสานกับการอธิบายหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อคุณธรรมและจริยธรรมของชาวหุยมาก

แนว ความคิดของการผสานกันนี้ให้เห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัวมากขึ้น โดยมีข้อสรุปว่าความสำคัญของสามีและภรรยามีพื้นฐานความสำคัญที่เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ความสำคัญของพ่อลูก เน้นความสำคัญของลูกที่จะต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ และผู้ปกครองก็จะต้องอบรมเลี้ยงดูบุตร นักวิชาการชาวหุยที่ชื่อว่าหม่าจู้ในสมัยนั้นระบุอย่างชัดเจนว่า “เลี้ยงบุตรแต่ไม่อบรม สู้ไม่เลี้ยงดีกว่า ถ้าสอนในสิ่งที่ไม่เที่ยงตรง ก็เสมือนกับไม่ได้สอน” ส่วนนักวิชาการที่ชื่อว่าหลิวจื้อนั้นมีความเห็นว่า “ให้ความสำคัญตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ตั้งชื่อที่สวยงาม ทำอากีเกาะฮ์ เฝ้าระวังโรคภัย รักษาความอนามัย ให้ความสำคัญเรื่องการอบรม เลือกครูที่ดีให้ ถ้าเติบโตแล้ว จะต้องครองเรือน” นักวิชาการชาวหุยมีบทบาทต่อชีวิตของชาวหุยมากตั้งแต่อดีต

ครั้ง หนึ่งผู้เขียนมีโอกาสพบครอบครัวชาวหุยในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่ง มีโอกาสได้รู้จักหญิงชราคนหนึ่ง ชื่อว่ายายหู ซึ่งมีอายุ 70  กว่า ยายหูมีสุขภาพที่แข็งแรง พูดจาฉะฉาน ยายหูมีลูกทั้งหมด 7 คน สามียายหูเสียชีวิตเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้ยายหูจึงต้องอาศัยอยู่กับลูกสาว 2 คน คนหนึ่งเป็นลูกลำดับที่ 6 และลูกคนสุดท้อง ทั้งสองคนไม่ค่อยสมประกอบตั้งแค่กำเนิด คนที่หกอายุ 33 ปี มีความพิการทางสมอง ที่ผ่านมาได้แต่งงานกับผู้ชายในหมู่บ้านแล้วมีลูกสาวคนหนึ่ง สุดท้ายสามีทนไม่ได้จึงทอดทิ้งเขาและลูก ส่วนน้องคนสุดท้องอายุ 29 ปี ป่วยเป็นโรคโปลิโอชนิดรุนแรงที่มีผลกระทบต่อสมอง ด้วยเหตุนี้ทำให้เขาสติไม่ค่อยดี สามารถพูดคุยได้เพียงเล็กน้อย เขาไม่สามารถเดินได้เวลาจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งต้องใช้ เก้าอี้เล็กๆ ยันกับพื้น เขาไม่สามารถช่วยงานใดๆ ในบ้านได้เลย ส่วนพี่สาวของเขาสามารถช่วยงานบ้านได้เพียงเล็กน้อย รายได้ของทั้งสองนั้นมาจากรายเดือนของพี่ๆ ทั้งห้า แม้ว่าทั้งสองพี่น้องจะไม่สมประกอบ แต่เวลาที่ทั้งสอง ได้ยินเสียงอะซานจากมัสยิดของหมู่บ้าน ไม่ว่าทั้งสองกำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม ทั้งสองพี่น้องก็จะกุลีกุจอไปทำน้ำละหมาด เพื่อที่จะได้ละหมาดทันเวลา เมื่อเห็นภาพเช่นนี้แล้ว ผู้เขียนก็รู้สึกประทับใจมาก หลายๆ ครั้งที่ได้พูดคุยกับยายหู ยายหูเล่าว่า “สำหรับลูกสาวทั้งสองนี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ยายก็หวังแต่เพียงว่าขออัลลอฮ์ (ซ.บ.) เปิดใจให้ลูกสองคนนี้ต้องรู้จักอิสลามมากขึ้น ยายก็อัลฮัมดุลิลลาฮ์”

ยาย หูเป็นผู้หญิงชาวหุย ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองมาค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตามยายหูนั้นเป็นผู้ที่มีความขยันและมั่งมั่นต่อการงานของศาสนา เป็นเพราะว่ายายหูอายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการประกอบอาชีพต่างๆ แล้ว ยายหูใช้เวลาว่างไปศึกษาหาความรู้ทางด้านศาสนาจากครูตามมัสยิดต่างๆ และเข้าร่วมงานองกลุ่มแม่บ้านชาวหุยในหมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม หน้าที่ที่ยายชาวหุยคนนี้ประสบความสำเร็จนั้น ก็ต้องยกนิ้วให้กับการดูแลบุตรสาวทั้งสองให้รู้จักและปฎิบัติตามหลักคำสอนขอ งอัลอิสลาม

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : บทความเรื่อง ลักษณะเด่นของครอบครัวชาวหุย  โดย Hai Cunfu วารสารชาวหุยศึกษา ฉบับที่ 2 ปี 2001  http://baike.baidu.com/view/957432.htm